Social Exchange Theory

อำนาจไม่ใช่สิ่งที่อยู่คงที่หรืออยู่กับผู้หนึ่งผ้ใด หรือตำแหน่งใด หากแต่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วแต่ว่าใครจะครอบครองตำแหน่งนั้น หรือใครจะใช้ความสามารถแสวงหา สะสมให้เกิดอำนาจขึ้นมา

ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchange Theory) ได้พยายามอธิบายให้เข้าใจถึงการเพิ่มและสูญเสียอำนาจ เหมือนกับกระบวนการแลกเปลี่ยนอิทธิพลระหว่างผู้นำกับผู้ตามที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในการอยู่ร่วมกัน ทฤษฎีนี้พิจารณาบนพื้นฐานของกระบวนการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของกลุ่มคนในสังคมอันซับซ้อน

สิ่งสำคัญของการมีความสัมพันธ์กันในสังคมก็เพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์หรือความพอใจด้านต่างๆ กัน การนำประสบการณ์นั้น ๆ มาใช้ได้ ในการดำเนินการแลกเปลี่ยนทางสังคม ไม่ใช่แต่เพียงผลประโยชน์ด้านวัตถุ ยังรวมทางด้านจิตใจ เช่น การถูกยอมรับ ยกย่องและผลกระทบทางจิตใจอื่นๆ ทุกคนเรียนรู้การแลกเปลี่ยนทางสังคมตั้งแต่เยาว์วัย และพัฒนาการแลกเปลี่ยนตามความคาดหวังของตนเองมากขึ้นและต้องการความยุติธรรมมากขึ้นด้วย

ยุคล์ (Yukl, 1989 : 28) ได้พบว่า มีทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคมมากมาย แต่ที่น่าสนใจและตรงประเด็นกับเรื่องอำนาจของผู้นำ ได้แก่

ทฤษฎี
- เกี่ยวกับกระบวนการเกิดผู้นำในกลุ่มขนาดเล็ก (Emergent leaders in small groups)
- ผู้นำแบบทางการในองค์การต่างๆ (Formal leaders in organizations)

ดังรายละเอียดต่อไปนี้
การเกิดผู้นำในกลุ่มขนาดเล็ก (Emergent Leaders in Small groups) โดยทั่วไปเมื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กัน ก็จะมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งถูกยอมรับให้เป็นผู้นำของกลุ่มขึ้นมา เมื่อผู้นำนั้นได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำงานต่าง ๆ ของกลุ่ม ตามความคาดหวังของสมาชิกได้ดีกว่าคนอื่น และมีความจงรักภักดีต่อกลุ่ม หรือทำงานเพื่อกลุ่มมากกว่าส่วนตัว
นอกจากจะได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อสมาชิกของกลุ่มในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการ ตัดสินใจของกลุ่ม การยอมรับในฐานะและอิทธิพลของผู้นำ จะขึ้นอยู่กับความสามารถดำเนินการ จัดหาสิ่งที่กลุ่มต้องการ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ข่าวสาร ข้อมูลที่จำเป็นแก่กลุ่ม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของกลุ่มได้ด้วยดี ยิ่งกว่านั้นหากผู้นำสามารถหาแนวทางใหม่ ๆ ทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จ ความศรัทธาและไว้วางใจในความเป็นผู้เชี่ยวชาญของผู้นำก็จะยิ่งมากขึ้น และยึดมั่นตลอดไป แต่ถ้าหากแนวทางใหม่ ๆ นั้นไม่ประสบความสำเร็จ และการไม่สำเร็จนั้นเนื่องมาจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด หรือเนื่องจากการไม่มีความสามารถของผู้นำมากกว่าการล้มเหลวที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่คาดการณ์ไม่ได้ ผู้นำก็จะถูกประเมินค่าภาวะผู้นำในด้านลบ และจะลบมากขึ้นถ้าการดำเนินการที่ก่อให้ล้มเหลวนั้นเนื่องจากที่ต้องการผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าเพื่อส่วนรวม การสูญเสียฐานะและอำนาจของการเป็นผู้นำนั้นจะมากหรือน้อย

นอกจากจะขึ้นอยู่กับความล้มเหลวของการดำเนินการแล้ว ยังขึ้นอยู่กับขนาดของความคาดหวังที่สมาชิกในกลุ่มเคยมีให้กับผู้นำด้วย คือ ถ้าสมาชิกให้การยกย่องผู้นำ ไว้วางใจในความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญสูงเมื่อผู้นำผิดพลาดก็จะสูญเสียฐานะและอำนาจมากกว่าผู้นำที่ผู้ตามคาดหวังไว้ไม่สูงนัก และผู้นำจะยิ่งสูญเสียฐานะและอำนาจมากขึ้น ถ้าการล้มเหลวนั้นก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อสมาชิกของกลุ่ม
ผู้นำแบบทางการในองค์การต่าง ๆ (Formal Leaders in Organizations) ผู้นำอย่างเป็นทางการก็จะมีกระบวนการเพิ่มอิทธิพล หรือสะสมอิทธิพลได้ เมื่อแสดงให้ผู้ตามเห็นในความ เชี่ยวชาญและจงรักภักดีต่อองค์การของตน เหมือนกับผู้นำที่เกิดขึ้นในกลุ่มขนาดเล็กที่กล่าวมาแล้ว ทางกันตรงที่ผู้นำทางการมีอำนาจหน้าที่ (Authority) ซึ่งเป็นอำนาจจากตำแหน่ง (Position Power) และมีภาระหน้าที่ในการบริหารโดยตรง จึงทำให้มีอิทธิพลโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับในความสามารถของผู้นำจากผู้ตามเท่าใดนัก นอกจากนั้นผู้นำที่ไม่มีความสามารถก็ยังสามารถจะเกาะยึดอยู่กับตำแหน่งได้จนหมดวาระหรือเกษียณด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตามผู้นำแบบทางการก็สามารถจะสูญเสียการยอมรับฐานะและอำนาจจากความเชี่ยวชาญ (Expert power) ซึ่งได้มาอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบได้ (คาดว่าต้องมีความเชี่ยวชาญจึงได้เป็นผู้นำ)
เนื่องจากการแสดงออกถึงการไม่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน การไม่มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย ผู้นำแบบทางการจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ผู้นำจากการแต่งตั้ง และผู้นำจากการเลือกตั้ง ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งจะสร้างความหวังสูงให้แก่ผู้ตาม และจะต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นกว่าผู้นำจากการแต่งตั้ง
การวิจัยผู้นำ พบว่า ผู้นำจากการเลือกตั้งต้องการการสนับสนุนจากผู้ตาม มากกว่าผู้นำที่มาจากการแต่งตั้ง และมีแนวโน้มจะปกป้องผลประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งหาทางเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลดีแก่ผู้ตามมากกว่าผู้นำแบบแต่งตั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง จะถูกต่อต้านได้ง่ายกว่าผู้นำที่มาจากการแต่งตั้ง
ถ้าหากงานที่ปฏิบัติไม่ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ในการพิจารณาภาระหน้าที่ของผู้นำที่จะก่อให้เกิดอำนาจหรือสูญเสียอำนาจนั้น ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มเท่านั้น หากแต่ต้องพิจารณาถึงภาระหน้าที่ของผู้นำต่อไปนี้ด้วย คือการจัดตั้งหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดสรรรางวัลตอบแทนที่ยุติธรรม การสนับสนุนด้านจิตใจ การเป็นตัวแทนของกลุ่มในการรักษาผลประโยชน์ การสามารถปรับองค์การให้อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง สนองตอบต่อความต้องการและความคาดหวังของสมาชิก
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับชนิดของกลุ่มคนและสถานการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภาระหน้าที่ดังกล่าวด้วยหรือไม่
ที่มา : http://www.nrru.ac.th/article/leadership/page2.5.html

ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchange Theory) เราจะพัฒนาความสัมพันธ์ที่จะทำให้เราได้รับประโยชน์มากที่สุด ผลประโยชน์ (Profits) = รางวัล (Rewards) – ต้นทุน (Costs) เราจะสื่อสารกับคนที่เราคิดว่าเราจะได้รับผลกำไรจากการลงทุนไป การลงทุน เช่น การลงทุนด้านเวลา อารมณ์ ศักดิ์ศรี ถ้าสิ่งที่เราจะได้รับมันมากกว่าที่เราลงทุนไปหรือเราได้กำไร เราจะทำ ใช้ได้กับบางคนเท่านั้น

ที่มา :http://oneangell.multiply.com/journal/item/80

Social Exchange Theory

Description
All relationships have give and take, although the balance of this exchange is not always equal. Social Exchange theory explains how we feel about a relationship with another person as depending on our perceptions of:
· The balance between what we put into the relationship and what we get out of it.
· The kind of relationship we deserve.
· The chances of having a better relationship with someone else.
In deciding what is fair, we develop a comparison level against which we compare the give/take ratio. This level will vary between relationships, with some being more giving and others where we get more from the relationship. They will also vary greatly in what is given and received. Thus, for example, exchanges at home may be very different, both in balance and content.
We also have a comparison level for the alternative relationships. With a high such comparison level, we might believe the world is full of lovely people just waiting to meet us. When this level is low, we may stay in a high-cost relationship simply because we believe we could not find any better elsewhere.
Research
Rusbult (1983) found that during the early 'honeymoon' period of a romantic relationship, the balance of exchange was largely ignored. Only later were costs related to satisfaction with the relationship.
Example
My daughter put a lot of effort into buying her brother a birthday present. He was not sufficiently enthusiastic about it and so she decided to spend more time on her own rather than 'being ignored' by him.
So what?
Using it
When you want to ask something else for something, make sure the balance of exchange is in your favor. You can also work on their perception of how exchanges happen within your relationship.
Defending
When people call in favors, think about what kind of exchange relationship you have with them and whether this is reasonable.
See also
Equity Theory, Reciprocity Norm, Social Norms, Leader-Member Exchange Theory
http://www.washington.edu/research/pathbreakers/1978a.html,
References
Thibaut and Kelley (1959), Kelley and Thibaut (1978), Homans (1961), Rusbult (1983)

ตัวอย่าง
สัญญาใจพรรคร่วมรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นสัญญาใจระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนสลับขั้วทางการเมืองด้วยการสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรครัฐบาล เพื่อให้เกิดการแก้ไขกติกาการเลือกตั้ง
หลังจากมติพรรคร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 ประเด็น คือ มาตรา 190 และ 94 พร้อมกับเตรียมนำแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญหารือร่วมกับพรรคเพื่อไทย และสมาชิกวุฒิสภา เพื่อหาแนวร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มติชน 20 มกราคม 2553)
แต่ความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของ 2 พรรคร่วมรัฐบาล กลับถูกคัดค้านจากพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยมติพรรคที่ไม่เข้าร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 53 ท่วงทำนองของพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างกติกาใหม่ของการเลือกตั้ง ส่งผลต่อความไม่พอใจของพรรคร่วมรัฐบาล จนเป็นที่มาของจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล กับวาทะที่ว่า “เขียนด้วยมือแล้วลบด้วยเท้า” (ไทยโพสต์ 28 มกราคม)
แต่จุดยืนพรรคประชาธิปัตย์ คือการยืนยันที่จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของสภา โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ออกมาคัดค้านการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า “ที่ตกลงกันไว้คือถ้ามีประเด็นที่ละเอียดอ่อนเราจะทำกันในกรอบของกรรมการสมานฉันท์ฯ แล้วนำมาตกลงกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจ สังคมยอมรับก็ให้ทำประชามติ แต่ทุกฝ่ายต้องตกลงกันก่อน แต่พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคอยากจะเสนอประเด็นเขตเลือกตั้ง ตนบอกว่ายังคิดไม่ตรงกัน แต่บังเอิญว่าพรรคร่วมรีบเสนอมา พรรคประชาธิปัตย์ต้องตัดสินใจว่าจะสนับสนุนหรือไม่ พรรคร่วมก็บอกเองว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเข้าชื่อหรือสนับสนุนหรือไม่พรรคร่วมก็จะเดินต่อ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของสภาฯไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล ตนเห็นว่ามันไม่มีอะไร วันข้างหน้าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องคุยกันอีก เพราะมีเรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องเขตเลือกตั้งเยอะแยะ” (คมชัดลึก 28 มกราคม)
ขณะที่ท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล คือ การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ด้วยการยื่นญัตติต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อแก้ไขใน 2 ประเด็น คือมาตรา 190 เรื่องเขตเลือกตั้งส.ส.แบบเขตเดียวเบอร์เดียวรวมกับส.ส.บัญชีรายชื่อ และมาตรา 103 คือกำหนดให้แก้ไขพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และที่มาส.ว.ให้สอดคล้องกัน (มติชน 29 มกราคม)
ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้จะสร้างความไม่พอใจให้กับพรรคร่วมรัฐบาล แต่สถานะของการเป็นพรรครัฐบาลย่อมส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลยังคงร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป เพราะมีการแลกเปลี่ยนในประเด็นที่สำคัญ
"เนวิน"สั่งส.ส.ภูมิใจไทย สงบปากพูดเรื่องแก้รธน. หวั่นขัดแย้งบานปลาย-รับไม่อยากเป็นฝ่ายค้านขออดทนให้ถึงที่สุด เหตุคุม 3 กระทรวงใหญ่ (มติชน 29 มกราคม)

วิเคราะห์ประเด็นการแลกเปลี่ยนทางสังคม ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะเป็นความไม่พอใจของพรรคร่วมรัฐบาล ที่ “คาดหวัง” ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมลงชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญตามสัญญาใจที่เคยให้ไว้ก่อนการเปลี่ยนขั้วการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แต่ยังคงต้องดำรงสถานะของการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนในด้านอื่นๆ คือ สถานะของการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล นั่นเอง


ทฤษฏีการแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social exchange theory)
เป็นทฤษฏีหนึ่งที่ได้รับความสนใจและถูกนำไปใช้ศึกษาและอธิบายกระบวนการและพฤติกรรมในองค์การหลายรูปแบบ เนื่องจากแม้ว่าพื้นฐานพื้นฐานการแลกเปลี่ยนระหว่างองค์การกับพนักงานจะอยู่ในรูปขิงการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ แต่มีเพียงการแลกเปลี่ยนทางสังคมเท่านั้นที่สามารถสร้างพันธะผูกพันและความไว้วางใจให้เกิดขึ้นพนักงาน ทำให้พนักงานมีเจตคติเชิงบวกต้ององค์กร มีพฤติกรรมทำงานที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิผลขององค์การในท้ายที่สุด (Sparrowe; & Liden, 1997: p. 523 citing Blau, 1964)
ในปัจจุบันมีการแลกเปลี่ยนทางสังคม 3 ประเภท คือ
1. ผ่านตัวแปรการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม (Leader – member exchange/ LMX) (Wayne: Shore; & Liden, 1997)
2. การรับรู้และการสนับสนุนจากองค์กร (Perceived organization support/ POS) (Eisenberger; et al., 1986)
3. การแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มงานกับสมาชิก (Team – member exchange/ TMX) (Seers, 1989)
โคลและคณะ (Cole; Schanninger, & Stanley, 2002) ได้เสนอกรอบแนวคิดที่บูรณาการการแลกเปลี่ยนทางสังคมทั้ง 3 ประเภทไว้ด้วยกัน เรียกว่า “เครือข่ายการแลกเปลี่ยนทางสังคมในที่ทำงาน” (Workplace Social Exchange Network/ WSEN) ที่อธิบายถึงการเชื่อมโยงระหว่างการแลกเปลี่ยนทางสังคมในที่ทำงาน ทั้ง 3 ปนะเภท ระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนทางสังคมทั้ง 3 ประเภท เป็นปัจจัยที่อยู่ต่างระดับกัน คือ ปัจจัยระดับองค์การและปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยทั้งสองนี้มีอิทธิพลต่อการแลกเปลี่ยนทางสังคม ทั้ง 3 ประเภท ในลักษณะความสัมพันธ์แบบข้ามระดับ (Cross – level relationship) ตอบรับแนวโน้มการวิจัยเชิงพฤติกรรมองค์การในปัจจุบันที่กำลังให้ความสนใจในการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฏีแบบพหุระดับ (Multilevel Theory building) (Klein; Tosi: & Cennella, 1999)

ที่มา: นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล จากวารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับ 1 กันยายน 2550 http://bsris.swu.ac.th/journal/1301092550/file/S5.pdf


Social Exchange Theory

ทฤษฎีนี้มุ่งความสนใจไปที่การวัดคุณค่าของบุคคล โดยมองว่าบุคคลสามารถให้อะไรกับสังคมได้ สังคมก็ตอบแทนกับบุคคลเช่นว่านั้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เยาวชนนั้นถือว่าเป็นกลุ่มที่มีคุณค่าต่อสังคม นอกจากนั้นสังคมยังเห็นคุณค่าของคู่สมรสมากกว่า คนโสด หรือเป็นหม้าย หรือหย่าร้าง กรณีของคนชราซึ่งต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดูแล ก็ถูกจัดอยู่ในสถานะอันไม่เป็นที่ต้องการของสังคม ซึ่งอาจทำให้ผู้ดูแลไม่เห็นคุณค่าของคนชรา จนอาจทำให้เกิดการทำร้ายหรือทอดทิ้งขึ้นได้ในที่สุด

ที่มา: นายวราห์ เห่งพุ่ม
http://www.lawreform.go.th/lawreform/index.php?
option=com_content&task=downloadmedia&file=7674.htm&filetemp=7674.htm&lang=th&id=9

ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม :
Blau (อ้างถึงใน นวรัตน์ นพหิรัญ 2540 : 22-23) อธิบายว่าการแลกเปลี่ยนทางสังคม ก่อให้เกิดความไว้วางใจระหว่างบุคคลและประสานปัจเจกบุคคลทั้งหลายเข้าสู่กลุ่มทางสังคม เนื่องจากเป็นการยากที่บุคคลจะวัดและประเมินค่าของสิ่งที่พวกเขากำลังแลกเปลี่ยนอยู่ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนจึงมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ และค่อยพัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ การตอบแทนซึ่งกันและกันและการแลกเปลี่ยนจะขยายเพิ่มขึ้นไปพร้อม ๆ กับความไว้วางใจซึ่งกันและกันที่มีมากขึ้น ดังนั้นกระบวนการต่าง ๆ ของการแลกเปลี่ยนทางสังคมจะก่อให้เกิดความไว้วางใจในความสัมพันธ์ทางสังคมผ่านการแลกเปลี่ยนของพวกเขาที่กระทำซ้ำ ๆ และขยายเพิ่มขึ้นทีละเล็กละน้อย โดยสิ่งที่เป็นฐานของกระบวนการแลกเปลี่ยนทางสังคมนี้คือ บรรทัดฐานทางสังคมของการตอบแทนซึ่งกันและกัน (Social norm of reciprocity) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการดำเนินการแลกเปลี่ยน (Exchange transaction) และการละเมิดบรรทัดฐานนี้จะนำไปสู่การ sanction หรืออาจยุติความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนได้ ส่วนการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจจะมีการระบุค่าของสิ่งที่จะแลกเปลี่ยนกันอย่างชัดเจน พันธะตอบแทนจะอยู่ในรูปของการทำสัญญา(Contractual obigation) และมักมีการกำหนดเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขการตอบแทนอีกด้วย

ชาติชาย ณ เชียงใหม่ (อ้างถึงใน นวรัตน์ นพหิรัญ 2540 : 26) อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดของ Blau ไว้ว่าการแลกเปลี่ยนทางสังคมเป็นการกระทำโดยสมัครใจของบุคคลที่ถูกจูงใจโดยผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น การแลกเปลี่ยนรางวัลหรือผลตอบแทนเหล่านั้นจึงเป็นกลไกอันหนึ่งที่ทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดำรงอยู่ได้และช่วยให้ข่ายของความสัมพันธ์ขยายกว้างขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับอีกบุคคลหนึ่งมากขึ้น พวกเขาจะรู้สึกผูกพันที่จะต้องตอบแทนผลประโยชน์ต่อกันมากขึ้นและมีสายสัมพันธ์ระหว่างกันที่แน่นแฟ้นขึ้น

Olsen (1978 : 91-93)การดำเนินการทางสังคม (Social transaction) ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนนั้นมีความแตกต่างจากการดำเนินการทางเศรษฐกิจ (Economic transaction) อยู่ 4 ประการ ดังนี้

  • ประการแรก การแลกเปลี่ยนทางสังคมไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อในเชิงปริมาณ เช่น เงิน

ตราเพียงอย่างเดียว

  • ประการที่สอง ในการแลกเปลี่ยนทางสังคมนั้น ผู้กระทำฝ่ายหนึ่งไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนและแน่นอนว่าอีกฝ่ายจะต้องให้การตอบแทนกลับคืนมาเท่าใดจึงจะเท่าเทียมกัน ขณะที่ในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ แต่ละฝ่ายที่มาแลกเปลี่ยนกันมักระบุเป็นสัญญาเชิงเงื่อนไขว่าแต่ละฝ่ายต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กันเท่าใดจึงจะเท่าเทียมกัน
  • ประการที่สาม การแลกเปลี่ยนทางสังคมจะใช้หลักเหตุผลน้อยกว่าการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ กล่าวคือในชีวิตทางสังคมของมนุษย์นั้น บุคคลอาจไม่สามารถแสวงหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผลตอบแทน (Benefit) หรือผลเสีย (Cost) ของทางเลือกเกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบหรืออาจไม่ได้คำนวณผลได้ผลเสียที่จะได้รับจากการเลือกการกระทำในทุก ๆ ครั้ง
  • ประการสุดท้าย ในการแลกเปลี่ยนทางสังคมผู้กระทำจะไม่คำนึงถึงผลได้สูงสุดและผลเสียต่ำสุด แต่จะคำนึงถึงผลได้และผลเสียที่พอยอมรับได้ คือจะคำนึงถึงความพึงพอใจ (Satisfying)มากกว่าหลักกำไรสูงสุด (Maximizing principle)

Turner (อ้างถึงใน สมหญิง สุนทรวงษ์ 2532 : 32)ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคมอธิบายว่าการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก็คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนที่ผู้กระทำทางสังคมทั้งหลายมาแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ รวมทั้งสิ่งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ เช่น สิ่งของ อาหาร การยอมรับทางสังคม เกียรติภูมิ เป็นต้น ซึ่งในการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนทางสังคมนั้น บุคคลอาจไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องได้รับผลตอบแทนสูงสุดเสมอไป แต่อาจเป็นผลตอบแทนที่บุคคลพึงพอใจหรือพอยอมรับได้ โดยอาศัยบรรทัดฐานทางสังคมของ
การตอบแทนซึ่งกันและกัน (Social norm of reciprocity) เป็นตัวกำหนดการดำเนินการแลก
เปลี่ยน และเมื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลหรือกลุ่มดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จะก่อให้เกิดความไว้
วางใจซึ่งกันและกัน และเกิดเป็นแบบแผนของการแลกเปลี่ยนที่มีความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันจน
เกิดเป็นเครือข่ายของการแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามภายใต้กระบวนการแลกเปลี่ยนทางสังคม ความ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มที่มาแลกเปลี่ยนกันนั้นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นความสัมพันธ์แบบสม
ดุลย์เสมอไป แต่อาจเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่ากัน (นวรัตน์ นพ
หิรัญ 2540 : 27)

ที่มา : สมภพ ยศปัญญา
กาดวัวดอนโก : ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจในกลุ่มผู้ค้า วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Somphop_Yotpanya/Chapter1.pdf

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา การคลี่คลายของวัฒนธรรมหรือโครงสร้างเก่าและการเข้าสู่วัฒนธรรมหรือโครงสร้างใหม่ ศึกษาวิธีการและรูปแบบการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมเก่ากับใหม่ความรู้ที่ได้นี้สามารถนำมาสร้างกรอบคิดและพัฒนาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทไทยการวิจัยในครั้งนี้ ได้นำเอาทฤษฎีแลกเปลี่ยนทางสังคมที่ได้รวมเอาแนวคิดการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมไว้ด้วยกันมาเป็นแนวทางในการศึกษาแชร์แรงงานจึงได้รับการพิจารณาในฐานะความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการพึ่งพาอาศัยกันหรือการแลกเปลี่ยนแรงงานของ
ชาวบ้านในชุมชน และการแลกเปลี่ยนนี้ได้ก่อให้เกิดโยงใยหรือเครือข่ายทางสังคมขึ้น อันส่งผลต่อการจัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านในชุมชน
ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เลือกชุมชนชนบทไทยจังหวัดสงขลา จำนวน 3 ชุมชน อันได้แก่ ชุมชนน้ำขางใน ตำบลน้ำขาว ชุมชนพ้อแดง ตำบลคู อำเภอจะนะ และชุมชนทุ่งโตนด ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม เป็นพื้นที่ศึกษา โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในแนวสังคมวิทยาเชิง
ประวัติศาสตร์ (historical - sociological analysis)
ผลการวิจัยได้ชี้ว่า การแลกเปลี่ยนแรงงานในรูปกลุ่มแชร์แรงงานหรือพรรคได้เติบโตขึ้นบนพื้นฐานของวัฒนธรรมดั้งเดิมในชุมชน และพัฒนาการของกลุ่มแชร์แรงงานหรือพรรคได้พัฒนาไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของชุมชน นอกจากนั้นยังพบว่า กลุ่มแชร์แรงงาน หรือพรรคมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมเก่ากับใหม่ในส่วนของผลที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนแรงงานนี้ ได้ช่วยให้ ชาวบ้านในชุมชนสามารถลดการพึ่งพาภายนอกและช่วยเพิ่มศักยภาพทางการผลิตของชุมชน ในด้านสังคมพบว่าสมาชิกกลุ่ม หรือพรรค เหล่านี้และชาวบ้านทั่วไปในชุมชนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานร่วมกันมาเป็นพื้นฐานในการจัดความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน
ในสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ส่วนในด้านวัฒนธรรม กลุ่มแชร์แรงงานหรือพรรคได้เป็นรากฐานรองรับ หรือเป็นที่ยึดเกาะของค่านิยมและความเชื่อทั้งเก่าและใหม่ ฉะนั้นกลุ่มหรือพรรคจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษาระบบคุณค่าเดิมไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน
ชื่อโครงการวิจัย : แชร์แรงงาน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคใต้
ชื่อผู้วิจัย : นายจำนงค์ แรกพินิจ นักวิจัยสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ทุนอุดหนุนการวิจัย : ทุนทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประจำปี 2540
http://www.tsu.ac.th/ists/research/research_006.htm

กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลง: จากยุคชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย โดย อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)
กระบวนการเรียนรู้ คือกลไกสำคัญที่สุดซึ่งมนุษย์ใช้ในการปรับตัว เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสังคมระดับต่างๆ ไม่ว่าครอบครัว กลุ่ม องค์กร ชุมชน ประเทศและระบบนิเวศ การที่มนุษย์มีศักยภาพความสามารถทางสมองมากกว่าสัตว์โลกทั่วไป การปรับตัวโดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้จึงมิได้จำกัดอยู่เพียงด้านกายภาพตามสัญชาติญาณทางธรรมชาติ คือ การกินอยู่ สืบเผ่าพันธุ์ และเอาตัวรอดจากภัยคุกคามต่างๆ เท่านั้น หากครอบคลุมถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิด จิตใจ อุดมคติ ฯลฯ ของสังคมระดับต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยสติปัญญา ความสามารถและจินตนาการที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นทั้งกลไกการถ่ายทอดหรือผลิตซ้ำเพื่อรักษาสิ่งเดิมเอาไว้ เช่นเดียวกับที่เป็นกระบวนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์เพื่อปรับตัวกับสิ่งเดิม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลาด้วย
ดังนั้น บริบทหรือสิ่งแวดล้อมระดับต่างๆ รอบตัวปัจเจกบุคคล จึงมีอิทธิพลโดยตรงทั้งในด้านการผลิตซ้ำสิ่งเดิมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ของสังคม ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของกระบวนการเรียนรู้และระดับปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้
การแบ่งยุคสมัยของกระบวนการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางบริบทของชนบทและมีนัยอย่างสำคัญต่อสังคมไทยโดยรวมอย่างยิ่ง โดยแบ่งดังนี้
-กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยยุคชุมชน
หรือก่อนเริ่มการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504)
-กระบวนการเรียนรู้ในยุคทันสมัย และโลกาภิวัตน์
เริ่มตั้งแต่พ.ศ.2504 จนกระทั่งปัจจุบัน
http://www.thaiknowledge.org

ตัวอย่าง การพัฒนาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ท่ามกลางสังคมสมัยใหม่ ที่การพัฒนาอุตสาหกรรมกำลังรุดหน้าไป เราจะสังเกตเห็นว่า หลาย ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแทบทุกประเภท ถือได้ว่าเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของแต่ละประเทศ ที่จะทำให้ประเทศของตนมีความทันสมัย แก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นเน้นเรื่องความเจริญทางวัตถุมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม มีการเร่งขยายรายได้ประชาชาติ ซึ่งส่งผลให้ความเจริญเกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่เป็นความเจริญทางด้านวัตถุ ขณะที่วัตถุมีความเจริญทันสมัยขึ้น แต่ทรัพยากรของโลกถูกทำลายไปอย่างไม่มีทางที่จะหามาใหม่ได้จนกระทั่งเกิด “วิกฤตการณ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม” สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงถึงแม้ว่ารายได้ของชาติจะเพิ่มขึ้นทุกปี เพียงชั่วระยะเวลา 100 ปีเศษที่ไทยถูกบังคับให้รับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปหลายประการ คือ
-ภาคธุรกิจเอกชนทั้งอุตสาหกรรมและบริการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมการขยายตัวต่ำมาก
สังคมปรับตัวไปสู่สังคมอุตสหกรรมมากขึ้น
-กำลังซื้อของคนชั้นกลางขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร กล่าวคือ มีประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้น แต่ประชากรที่เป็นภาระลดน้อยลง
-เกิดการขยายตัวของความเป็นเมือง
-เกิดการขยายตัวทางการศึกษา เช่น ในระดับปริญญาตรีเกิดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยเอกชนอีกจำนวนมาก
-สังคมไทยผูกพันกับต่างประเทศมากขึ้น
-การเปลี่ยนแปลงของชุมชนและครอบครัว จากครอบครัวขยายขนาดใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวขนาดเล็ก เนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
ภายใต้การพัฒนาประเทศ นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 จนบัดนี้ กำลังเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2504-ปัจจุบัน) จะพบว่ามีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท ภาคอุตสาหกรรมบริการกับภาคเกษตรกรรม เกิดช่องว่างระหว่างความเจริญทางด้านวัตถุกับความเจริญทางด้านจิตใจ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงของชาติหรือเรียกว่าปัญหาสังคม เช่น ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ที่ลดน้อยลงทุกทีจะเห็นได้จากพ่อแม่บางคนที่ขายลูกไปเป็นโสเภณี ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาหลัก ๆ ของสังคมไทย เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยสี่ ปัญหาอพยพย้ายถิ่น ปัญหาสวัสดิการและสภาพการทำงาน ภาคอุตสาหกรรม ปัญหาความไม่สมดุลในการกระจายรายได้ ปัญหาด้านสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบสังคม หรือโครงสร้างของสังคม เช่น ปัญหาการศึกษา ปัญหาการบริการสาธารณสุข ปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรมและจิตใจ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาโสเภณีเด็ก ปัญหาครอบครัว ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบน ปัญหาการพัฒนาโดยเลียนแบบสังคมตะวันตก ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ปัญหาด้านการเมือง เช่น ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ปัญหาการตื่นตัวทางการเมืองต่ำ ปัญหาระบบพรรค
การเมืองที่มุ่งผลประโยชน์ของพรรคมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาประชาชนขาด
อำนาจและสิทธิในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อพวกเขา ปัญหากลไกทางราชการขาดการ
เอาใจใส่ดูแลกระบวนการร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมดำเนินงานในระดับชุมชน
ซึ่งเมื่อพิจารณาปัญหาสังคมเหล่านี้แล้วจะพบว่า แต่ละปัญหามีความสัมพันธ์กับปัญหาหนึ่ง อาจเป็นสาเหตุของปัญหาหนึ่ง ขณะที่ปัญหาหนึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาหนึ่ง เช่น ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ไม่พอกิจ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของ เงินทองในการออกเสียงเลือกตั้ง ขณะเดียวกันปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ส่งผลต่อปัญหาทางการเมือง คือ แสดงให้เห็นถึงสถานบันทางการเมืองอ่อนแอ รัฐบาลหรือพรรคการเมืองไม่สามารถสนองปัจจัยสี่ หรือสนองความต้องการแก่คนในสังคมได้อย่างเพียงพอ เป็นต้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม สามารถจำแนกได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคลกับระดับสังคม และทั้ง 2 ระดับมีความสัมพันธ์กันส่งผลถึงกันได้ตลอดเวลา เช่น การเบี่ยงเบนพฤติกรรมทางเพศ เป็นปัญหาระดับบุคคล แต่สามารถส่งผลถึงปัญหาระดับสังคมได้ คือ เอดส์ เป็นต้น
สาเหตุและผลกระทบของปัญหาสังคม
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลมาจากความพยายามในการพัฒนาสังคม ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยจากการบริหารประเทศ อันได้แก่
แผนพัฒนาประเทศ ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.2504 เมื่อการดำเนินการในแผนแรกสิ้นสุดลง รัฐบาลเห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว ทำให้ประเทศมีการพัฒนาไม่สมดุล ดังนั้นในแผนฯ ฉบับที่ 2 จึงมีคำว่าสังคม เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเน้นการพัฒนาสูงขึ้น แต่ในทางปฏิบัติจริง แผนฯ 1-4 ก็ยังคงเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมกล่าวคือ เน้นการลงทุน การยกระดับรายได้ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนา เช่น การสร้างเขื่อนไฟฟ้าประปา การคมนาคมขนส่ง และการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแทนที่จะทำให้ประเทศมีการพัฒนา กลับทำให้เกิดปัญหาตามมาคือความยากจนมีมากขึ้น การว่างงานมีอัตราสูงขึ้น มีความแตกต่างทางรายได้เพิ่มมากขึ้น และการล่มสลายของชนบทมีมากขึ้น การรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจ และการอำนวยการต่าง ๆ ของภาครัฐไว้ที่ส่วนกลาง ประชาชนถูกจัดเป็นปัจจัยในการพัฒนามากกว่าการเป็นเจ้าของ การพัฒนาทำให้การสนใจรับรู้สภาพปัญหา ความต้องการของประชาชน การวิเคราะห์ปัญญา และการดำเนินการแก้ไข ตลอดจนการจัดทรัพยากรต่าง ๆ จะเป็นการสั่งมาจากเบื้องบนและส่วนกลางมากกว่าที่จะมองจากแง่มุมของประชาชนที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ กลไกการบริหารงานของรัฐ โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค ไม่สามารถนำนโยบายและแผนงานไปปฏิบัติให้ลุล่วงได้ผลตามที่ต้องการ
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก อันได้แก่
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ ทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง การใช้รถแทนเกวียน
การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน นอกจากนั้นแล้วเทคโนโลยียังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านการคมนาคม การสื่อสาร การแพทย์ และความสามารถในการควบคุมธรรมชาติอีกด้วย
การรับอารยธรรมจากภายนอก เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการติดต่อข้ามวัฒนธรรม และรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาสู่ท้องถิ่น เกิดการเลียนแบบการพัฒนาอย่างตะวันตก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมากล่าวคือ บางอย่างนำมาแต่รูปแบบ แต่ไม่ได้นำสาระมาด้วย เช่น นำรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยมา แต่ไม่ได้นำหลักการหรือปลูกฝังให้เกิดวิถีชีวิตที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง บางอย่างตาม แต่ล้ำเลยไป เช่น กิจกรรมบันเทิงยามราตรี
บางอย่างรับมา แต่ปฏิบัติไม่ครบกระบวน ได้แก่ การสร้างอารยธรรมแบบสังคมอุตสาหกรรม เช่น
ความขยัน การทำงานหนัก ความอดทน ความอดออม ความมีระเบียบวินัยเหล่านี้ คนไทยไม่ได้รับมา
บางครั้งนำแบบอย่างที่ผิดมาปฏิบัติ เช่น การพัฒนาประเทศ โดยเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย สภาวะประชากรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้ที่ทำกินต่อครอบครัวน้อยลง ทำให้เกิดการย้ายถิ่นและเปลี่ยนอาชีพ ส่วนการคุมกำเนิด เมื่อถึงระดับหนึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรคนในวัยทำงาน จำนวนเด็กลดลง ซึ่งจะส่งผลให้คนว่างงานหลายอาชีพขึ้น
สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เนื่องจากจำนวนมนุษย์มีเพิ่มมากขึ้น มีความเจริญมากขึ้น มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพิ่มขึ้น ทำให้สภาพป่าลดน้อยลง คุณภาพดินเสื่อม สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติ
การพัฒนาสังคม โดยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จนบัดนี้ถึงแผนฯ 7 แล้วนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบ 4 ด้าน คือ
1 ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในด้านผลดี
โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรม
เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ 3.8 ในปี 2528 เป็นอัตราร้อยละ 9.7
ในปี 2532 มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม
มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น เช่น การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า โทรทัศน์ รถยนต์ ฯลฯ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในด้านผลเสีย
การกระจายรายได้ไม่สมดุล เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเติบโตมากกว่าภาคเกษตรกรรม
เกิดการอพยพแรงงานจากภาคเกษตรกรรมออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาสังคมในเวลา
ต่อมา เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต เนื่องจากต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศและต้องพึ่งพาตลาดต่าง
ประเทศมาก ทำให้อำนาจการแข่งขันลดน้อยลงและขาดดุลการค้า
อุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากการมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ของรัฐบาล
2 ผลกระทบทางด้านสังคม
ผลกระทบด้านสังคมในด้านดี
โครงสร้างประชากรดีขึ้น มีประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้น ส่วนประชากรวัยเด็กและวัยชราลดลง ทำให้ประชากรวัยทำงานมีเงินออมเพื่อที่จะนำไปลงทุนเพิ่มขึ้น
ประชาชนในประเทศมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น
ประชาชนในประเทศมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
ประชาชนในประเทศได้รับการศึกษาสูงขึ้น
ผลกระทบด้านสังคมในด้านผลเสีย
ความอบอุ่นจากสภาพทางครอบครัวลดลง
เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนของประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
ครอบครัวมีการหย่าร้างมากขึ้น
3 ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นผลดี
ทำให้เกิดการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยการแบ่งเป็นย่านต่าง ๆ เช่น ย่านอุตสาหกรรม ย่าน
เกษตรกรรม ย่านที่อยู่อาศัย
เกิดการประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ เช่น การนำพลาสติกมาใช้แทนเหล็ก การใช้ยางสังเคราะห์แทน
ยางธรรมชาติ
มีการขยายตัวของเขตเมืองและชนบท
ผลกระทบทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นผลเสีย
การพัฒนาประเทศให้เป็นเขตเมือง และเขตอุตสาหกรรมทำให้มีการทำลายสภาพแวดล้อม
เกิดปัญหามลภาวะจากความแออัด ไม่เป็นระเบียบของชุมชน และภาวะการทิ้งของเสียลงแม่น้ำ ลำคลองและทะเล
เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยเนื่องจากมลพิษในอากาศ
4. ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรม
ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมในด้านผลดี
การสร้างวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถสูงขึ้น
วัฒนธรรมทางด้านความคิด เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนมาเป็นการ
ผลิตเพื่อขาย
ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมในด้านผลเสีย
ผลกระทบในการทำลายวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทย
เกิดความสับสนทางวัฒนธรรม คนชนบทยังปรับตัวไม่ได้กับค่านิยมของสังคมเมืองที่หลั่งไหลเข้าไป
ทำให้แบบแผนการดำเนินชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นคนในสังคมเมืองเองที่ยังปรับตัวไม่ทัน
กับความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของวัฒนธรรมเกิดเป็นผลทำลายสุขภาพจิต ทำให้สถิติของการเป็นโรค
ประสาทมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ความสัมพันธ์ระหว่างการแก้ปัญหากับการพัฒนาสังคม
ปัญหาสังคมกับการพัฒนาสังคมมีความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ การพัฒนาสังคมโดยใช้กระบวนการ วิธีการ ยุทธวิธีต่าง ๆ เพื่อให้สังคมพัฒนานั้น ถ้าหากกระบวนการ/วิธีการ/ยุทธวิธีดี ทำให้สังคมมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

…………………………………………………………………………….

ทฤษฎีแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchange Theory) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคล้อยตาม
นักจิตวิทยาสังคมได้พยายามศึกษาเรื่องการคล้อยตามไว้มาก ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการวิจัยเพื่อที่จะหาคำตอบที่ว่า “ปัจจัยอะไรที่เป็นตัวกำหนดการเกิดหรือไม่เกิดการคล้อยตาม” ผลจากการวิจัยปรากฏปัจจัยดังกล่าว ดังนี้ (สิทธิโชค วรานุสันติกูล, 2546)

การแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchage) ทฤษฎีแลกเปลี่ยนทางสังคม (Social Exchange Theory) เป็นหลักการที่สำคัญมากในจิตวิทยาสังคม ซึ่งพอสรุปได้ว่า…การที่คนเราจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกันนั้น คนเราจะคิดถึงการลงทุนและผลตอบแทนจากปฏิสัมพันธ์นั้นด้วย อาทิ ถ้านายเดชาจะผู้มิตรกับนายเด่น การคบหาสมาคมกันต้องมีทั้งตนเองเป็นฝ่ายให้และต้องได้รับกลับคืนมาด้วย ผลที่ได้รับกลับคืนมาจะเป็นแรงเสริมให้คบกันต่อไปอีก และในสังคมมนุษย์นั้นแรงเสริมที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับพฤติกรรมของมนุษย์ก็คือ การได้รับการยอมรับจากคนอื่นๆ ในสังคมหรือในกลุ่ม ซึ่งฮอลแลนเดอร์ (Hallander. 1975 : 484) กล่าวว่า “การคล้อยตามเป็นการเปลี่ยนเพื่อที่จะได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากคนอื่น”
ฮอลแลนเดอร์ ได้อธิบายว่า … การที่บุคคลคล้อยตามหรือปฏิบัติตามมาตรฐานของผู้อื่นเป็นการให้แรงเสริมแก่ผู้อื่น ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้อื่นให้การยอมรับและสนับสนุนแก่บุคคลผู้นั้นเป็นการตอบแทน…. กล่าวง่ายๆ ว่า ต้องรู้จักประจบด้วยการแสดงคล้อยตามคนที่เราสนับสนุนเสียก่อน และด้วยหลักแห่งการแลกเปลี่ยนทางสังคม บุคคลผู้ที่เราต้องการจะขอการสนับสนุนจะสนับสนุนเราในเวลาข้างหน้า

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพ ฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546.

เราอาจสรุปได้ว่าเบลาได้สร้างกลไกในการแลกเปลี่ยนดังกล่าวในทฤษฎีของเขาพอสรุปได้ดังนี้
 การกำหนดราคา ซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนทางสังคม กับ กับการแลกเปลี่ยนเชิงเศรษฐกิจ
 ในเชิงการแลกเปลี่ยนทางสังคมนั้น มีองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ การสร้างความประทับใจ(ทำให้ได้ราคามากขึ้นต่อสินค้านั้น) รักษาระยะห่างทางบทบาท (ระยะห่างก็เป็นตัวกำหนดราคาด้วย ยิ่งสนิทราคาก็จะถูกลง) และประการสุดท้ายคือบรรทัดฐานที่เกี่ยวกับการตอบแทนซึ่งกันและกัน คุณค่า ราคา ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในส่วนบรรทัดฐาน
 ผลที่ได้รับจากการเกิดการแลกเปลี่ยนทางสังคม ทำให้สังคมเกิดการบูรณาการ เกิดความไว้วางใจ นำไปสู่การเกิดโครงสร้างใหม่ นำไปสู่การปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมและนำไปสู่ค่านิยมร่วมกัน

เราอาจนำ แนวคิดของเขามาเป็นประพจน์ได้ดังนี้
 ยิ่งบุคคลคาดหวังว่าจะได้กำไรจากการกระทำในกิจกรรม ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่เขาจะทำกิจกรรมนั้น
 ยิ่งมีแลกเปลี่ยนผลตอบแทนมาก ก็จะยิ่งมีความผูกพันระหว่างกันมากและจะมีผลต่อกิจกรรมที่เปลี่ยนไป
 ยิ่งมีการฝ่าฝืนบรรทัดฐานแห่งการตอบแทนผู้เสียประโยชน์ก็จะยิ่งแสดงสิทธานุมัติ
 บุคคลยิ่งได้รับรางวัลที่คาดหวังจากการกระทำบ่อยขึ้น จะยิ่งลดคุณค่าของกิจกรรมนั้นลง
 ยิ่งมีความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนมั่นคงขึ้น จะยิ่งมีการใช้กฎแห่งความยุติธรรมในการแจกจ่ายมากขึ้น
 ยิ่งมีการปฏิบัติตามกฎแห่งความยุติธรรมในการแจกจ่ายน้อย ฝ่ายที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจะยิ่งให้สิทธานุมัติทางลบกับอีกฝ่าย
 ยิ่งมี ความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนในหน่วยของสังคมมาก จะยิ่งมีความไม่สมดุลและไม่มั่นคงในหน่วยอื่น ๆ ของสังคมเดียวกัน (ยกตัวอย่างระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมต่อภาคเกษตรกรรม)
จากประพจน์ข้างต้นก็นำกลับไปสู่แนวคิดของเบลาที่ว่าด้วยเรื่องขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงสังคมดังที่ได้ใหคำอธบายไว้แล้ว จากทั้งหมดนี้คือส่วนที่มีสาระสำคัญขอทฤษฎีการแลกเปลี่ยนซึ่งหากว่าไปตาความเป็นจริงแล้วถึงแม้ว่าเบลาจะได้แก้ไขจุดอ่อนของทฤษฎีที่มีมาจากโฮมันส์แล้วก็ตาม นักทฤษฎีในส่วนของโครงสร้างหน้าที่ก็ยังไม่ให้การยอมรับในส่วนของการในคำนิยามทางสังคม หรือในการเป็นโครงสร้างทางสังคมทางทฤษฎีดังกล่าวอันเนื่องเพราะยังให้ความกระจ่างในทางโครงสร้างทางสังคมใหญ่ ๆ ไม่ชัดเจนเพียงพอนั่นเอง
http://sophon56.spaces.live.com/blog/cns!ACD6F4663CC01207!141.trak

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ราชบัณฑิตยสถาน (2524 : 337) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น
พัทยา สายหู (2529 : 206-207) ได้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ด้วยกัน อันเป็นผลมาจากระเบียบที่กำหนดการกระทำ และความสัมพันธ์ของคน เช่น สิทธิและหน้าที่ ขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทและสถานภาพ มีการเปลี่ยนแปลง
สนิท สมัครการ (2538 : 4) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ว่าจะเล็กน้อย หรือใหญ่โตเพียงไรก็ตามย่อมถือได้ว่าเป็นเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ทั้งสิ้น
เดวิด จารี และจูเลีย จารี (Jary and Jary 1995 : 602)หมายถึง ความแตกต่างในส่วนใดส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างของสังคมหรือการจัดระเบียบของสังคมระหว่างปัจจุบันกับอดีต
โดยสรุป การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change) หมายถึง ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่างช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค ซึ่งอาจเป็นผลดีหรือผลเสียก็ได้
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกและแบ่งกลุ่มได้ดังนี้ (Vago1980:33-62)
1. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary theory) เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) โดยนักสังคมวิทยาในกลุ่มทฤษฎีวิวัฒนาการเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์ ตัวอย่างของนักสังคมวิทยาที่สร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยใช้แนวความคิดวิวัฒนาการ มีดังนี้
ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) เสนอว่า สังคมมนุษย์มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (Knowledge) ผ่าน 3 ขั้นตอน ตามลำดับ คือ จากขั้นเทววิทยา (Theological stage) ไปสู่ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical stage) และไปสู่ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positivistic stage)
ลิวอิส เฮนรี่ มอร์แกน (Lewis Henry Morgan) เสนอว่า สังคมจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้นคือ จากสังคมคนป่า (Savage) ไปสู่สังคมอนาอารยชน (Barbarian) และไปสู่สังคมอารยธรรม (Civilized)
เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เสนอว่า วิวัฒนาการของสังคมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Unilinear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเหนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมตัวกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ (Synthesis) ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป
เฟอร์ดินาน ทอยนีย์ (Ferdinand Tonnies) เสนอว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Gemeinschaft ไปสู่สังคมแบบ Gesellschaft
โรเบิร์ต เรดฟิวด์ (Robert Redfield) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเริ่มจากสภาพของสังคมชาวบ้าน (Folk) เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบเมือง (Urban)
ต่อมาแนวความคิดในการสร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบสายเดียว (Unilinear) ที่เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องเปลี่ยนผ่านแต่ละขั้นที่กำหนดไว้ ได้รับการโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม น่าจะมีวิวัฒนาการแบบหลายสาย (Multilinear) เพราะแต่ละสังคมมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน มีรูปแบบของสังคมที่แตกต่างกัน หรือแม้ว่าสังคมที่มีรูปแบบที่เหมือนกันแต่อาจจะมีสาเหตุของการเปลี่ยแปลงที่แตกต่างกันก็เป็นได้
2. ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict theory) เป็นแนวความคิดที่มีข้อสมมุติฐานที่ว่า พฤติกรรมของสังคมสามารถเข้าใจได้จากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และบุคคลต่าง ๆ เพราะการแข่งขันกันในการเป็นเจ้าของทรัพยากรที่มีค่าและหายาก มีนักสังคมวิทยาหลายท่านที่ใช้ทฤษฎีความขัดแย้งอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ในที่นี้จะเสนอแนวความคิดของนักทฤษฎีความขัดแย้งที่สำคัญ 3 ท่าน ดังนี้
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของทุก ๆ สังคม จะมีขั้นตอนของการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้น โดยแต่ละขั้นจะมีวิธีการผลิต (Mode of Production) ที่เกิด
จากความสัมพันธ์ของ อำนาจของการผลิต (Forces of production) ซึ่งได้แก่ การจัดการด้านแรงงาน ที่ดิน ทุน และเทคโนโลยี กับ ความสัมพันธ์ทางสังคมของการผลิต (Social relation of production) ซึ่งได้แก่ เจ้าของปัจจัยการผลิต และคนงานที่ทำหน้าที่ผลิต แต่ในระบบการผลิตแต่ละระบบจะมีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตกับผู้ใช้แรงงานในการผลิต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ที่เป็นโครงสร้างส่วนล่างของสังคม (Substructure) และเมื่อโครงสร้างส่วนล่างมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลทำให้เกิดการผันแปรและเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Superstructure) ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคม เช่น รัฐบาล ครอบครัว การศึกษา ศาสนา และรวมถึงค่านิยม ทัศนคติ และบรรทัดฐานของสังคม ลำดับขั้นของการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของมาร์กซ์ มีดังนี้
-ขั้นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม (Primitive communism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของเผ่า (Tribal ownership) ต่อมาเผ่าต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นเมืองและรัฐ ทำให้กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเปลี่ยนไปเป็นของรัฐแทน
-ขั้นสังคมแบบโบราณ (Ancient communal) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ (State ownership) สมาชิกในสังคมได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งได้แก่ เครื่องใช้ส่วนตัว และทาส ดังนั้นทาส (Slavery) จึงเป็นกำลังสำคัญในการระบบการผลิตทั้งหมด และต่อมาระบบการผลิตได้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของทาสและทาส
-ขั้นสังคมแบบศักดินา (Feudalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของขุนนาง คือ ที่ดิน โดยมีทาสเป็นแรงงานในการผลิต
-ขั้นสังคมแบบทุนนิยม (Capitalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของนายทุน คือ ที่ดิน ทุน แรงงาน และเครื่องจักร โดยมีผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ผลิต
-ขั้นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของทุกคน ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
ตามแนวความคิดของมาร์กซ์ ลำดับขั้นของการนำไปสู่การปฏิวัติของชนชั้นล่างของสังคมเกิดจาก กระบวนการดังต่อไปนี้
-มีความต้องการในการผลิต
-เกิดการแบ่งแยกแรงงาน
-มีการสะสมและพัฒนาทรัพย์สินส่วนบุคคล
-ความไม่เท่าเทียมทางสังคมมีมากขึ้น
-เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในสังคม
-เกิดตัวแทนทางการเมืองเพื่อทำการรักษาผลประโยชน์ของแต่ละชนชั้น
-เกิดการปฏิวัติ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามแนวความคิดของมาร์กซ์ เป็นการต่อสู่ระหว่างระหว่างชนชั้นในสังคม โดยใช้แนวความคิดวิภาษวิธี (Dialectical) ที่เริ่มจาก การกระทำ (Thesis) ซึ่งเป็นสาเหตุของ การเปลี่ยนแปลงการกระทำ (Antithesis) และเกิดการกระทำแบบใหม่ (Synthesis) ตามมา
ลิวอิส เอ. โคเซอร์ (Lewis A. Coser) เป็นนักทฤษฎีความขัดแย้ง ที่มองว่า ความขัดแย้งก่อให้เกิดผลทั้งด้านบวกและด้านลบ และอธิบายว่า ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ไม่มีกลุ่มทางสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความสมานสามัคคีอย่างสมบูรณ์ เพราะความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของสภาวะหนึ่งของมนุษย์ ทั้งในความเกลียดและความรักต่างก็มีความขัดแย้งทั้งสิ้น ความขัดแย้งสามารถแก้ปัญหาความแตกแยกและทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มได้เพราะในกลุ่มมีทั้งความเป็นมิตรและความเป็นศัตรูอยู่ด้วยกัน โคเซอร์มีความเห็นว่าความขัดแย้งเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สามารถทำให้สังคมเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่จากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้ เพราะหากสมาชิกในสังคมเกิดความไม่พึงพอใจต่อสังคมที่เขาอยู่ เขาจะพยายามทำการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นั้น ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของเขาได้ นอกจากนี้
โคเซอร์ ยังเสนอว่า ความขัดแย้งยังสามารถทำให้เกิดการแบ่งกลุ่ม ลดความเป็นปรปักษ์ พัฒนาความซับซ้อนของโครงสร้างกลุ่มในด้านความขัดแย้งและร่วมมือ และสร้างความแปลกแยกกับกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น
ราล์ฟ ดาห์เรนดอร์ฟ (Ralf Dahrendorf) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ที่ปฏิเสธแนวความคิดของมาร์กซ์ ที่ว่า ชนชั้นในสังคมเกิดจากปัจจัยการผลิต และเสนอว่า ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมนั้นเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของสิทธิอำนาจ (Authority) กลุ่มที่เกิดขึ้นภายในสังคมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ กลุ่มที่มีสิทธิอำนาจกับกลุ่มที่ไม่มีสิทธิอำนาจ สังคมจึงเกิดกลุ่มแบบไม่สมบูรณ์ (Guasi-groups) ของทั้งสองฝ่ายที่ต่างก็มีผลประโยชน์แอบแฝง (Latent interest) อยู่เบื้องหลัง ดังนั้นแต่ละฝ่ายจึงต้องพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเอาไว้ โดยมีผู้นำทำหน้าที่ในการเจรจาเพื่อปรองดองผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ระดับของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากหรือรุนแรงน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการและการประสานผลประโยชน์ของกลุ่มที่ครอบงำ และเสนอความคิดว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นผลมาจากความกดดันจากภายนอกโดยสังคมอื่น ๆ และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมสามารถควบคุมได้ด้วยการประนีประนอม ตามแนวความคิดของดาห์เรนดอร์ฟ ความขัดแย้งสามารถทำให้โครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงได้ ประเภทของการเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลง และขนาดของการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลง เช่น อำนาจของกลุ่ม ความกดดันของกลุ่ม
3. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional theory) แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่าง ๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภทคือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้
อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่า หน้าที่ทางสังคม เป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น
ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่าง ๆ (Part) มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ (Equilibrium) ส่วนในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พาร์สันเสนอว่า เกิดจากความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือ บุคลิกภาพ (Personality) อินทรีย์ (Organism) และวัฒนธรรม (Culture) เกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคม ที่เกิดจากความตึงเครียด (Strain) เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วย (Unit) หรือหลาย ๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดหนึ่งหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมมีการรวมตัวเข้าด้วยกันและเป็นตัวต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้
-ในการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
-ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
-ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์ การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่า ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง
4.ทฤษฎีจิตวิทยา-สังคม (Social-Psychological theory) จากแนวความคิดด้านจิตวิทยา-สังคม เสนอว่า การพัฒนาทางสังคมเกิดจากการทำงานของปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่เป็นแรงขับให้ประชาชนมีการกระทำ มีความกระตือรือร้น มีการประดิษฐ์ มีการค้นพบ มีการสร้างสรรค์ มีการแย่งชิง มีการก่อสร้าง และพัฒนาสิ่งต่างภายในสังคม นักสังคมวิทยาที่ใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีดังนี้
แมค เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกที่ใช้หลักจิตวิทยามาใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และในผลงานที่ชื่อว่า The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เสนอว่า การพัฒนาของในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ตามลัทธิทุนนิยม มีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกิดขึ้นหลังสมัยศตวรรษที่ 16 เมื่อในยุโรปตะวันตกมีการแพร่กระจายคำสอนของศาสนาคริสต์ ลัทธิโปรแตสแตน (Protestant ethic) ที่สอนให้ศาสนิกชนเกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยม (Spirit of Capitalism) เป็นนักแสวงหาสิ่งใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทำงานหนักเพื่อสะสมความร่ำรวย เก็บออมเพื่อนำไปใช้ในการลงทุน สร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง เวเบอร์ยังเสนอว่า การพัฒนาของจิตวิญญาณแบบทุนนิยมทำให้เกิดลัทธิความมีเหตุผล (Rationalism) ซึ่งภายใต้สังคมที่ใช้ความมีเหตุผลจะทำให้บุคคลมีความน่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์ สุจริต ยอมรับสิ่งใหม่และสามารถเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมใหม่ ๆ เวเบอร์เชื่อว่า อิทธิพลของความคิด ความเชื่อ และบุคลิกภาพของคนในสังคมภายใต้สภาวะดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามมา
อีวีเรทท์ อี เฮเกน (Everett E. Hagen) มีแนวความคิดสอดคล้องกับเวเบอร์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีการเริ่มต้นมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และเสนอว่า การเปลี่ยนจากสังคมดั้งเดิม (Traditional) ไปสู่สังคมสมัยใหม่ (Modern) จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของบุคคล (Personality) โดยเสนอว่า บุคลิกภาพของคนในสังคมดั้งเดิมมีลักษณะตายตัวที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มสังคม เป็นบุคลิกของคนที่ต้องมีการสั่งการด้วยบังคับบัญชา ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่มีการประดิษฐ์คิดค้น เพราะคนเหล่านั้นมองโลกยถากรรมมากกว่าที่จะมองโลกแบบวิเคราะห์ และต้องการควบคุมให้เป็นไปตามที่คิด ซึ่งเป็นผลทำให้สังคมแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนในสังคมสมัยใหม่เฮเกนเสนอว่า บุคลิกภาพของคนที่มีความสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ มองโลกที่อยู่รอบตัวเขาอย่างมีเหตุมีผล บุคคลิกภาพของคนในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามเฮเกน ได้เสนอว่า บุคลิกของคนในสังคมดั้งเดิมสามารถที่จะเปลี่ยนไปสู่บุคลิกของในสังคมสมัยใหม่ได้โดยใช้วิธีการถอดถอนสถานภาพ (Status withdrawal) ด้วยการนำเอาปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจจากสังคมสมัยใหม่เข้าไปแทรกหรือแทนที่ในสังคมดั้งเดิม และยังได้เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมอาจทำได้จากเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของคนในสังคม โดยเริ่มจากการพัฒนาบุคลิกภาพตั้งแต่วัยเด็ก
เดวิด ซี แม็กคลีล์แลนด์ (David C. McClelland) มีแนวความคิดเหมือนกับเฮเกนที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่แนวความคิดของ แม็ก-คลีลแลนด์เน้นศึกษาที่ตัวแปรด้านแรงจูงใจในความสำเร็จ (Achievement motivation) ซึ่งหมายถึง ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคล และเสนอแนวความคิดว่า ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสังคมในอดีตและปัจจุบันเป็นผลมาจากแรงจูงใจในความสำเร็จของบุคคล หากคนในสังคมมีแรงจูงใจในความสำเร็จมาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจก็จะมีความเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเสนอวิธีการสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จด้วยการเรียนรู้ (Learning) โดยสร้างแรงกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นในการจัดการศึกษาและการเลี้ยงดูเด็ก สังคมควรมีการปูพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จของบุคคล ด้วยการใช้ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
-แบบอย่างของความสำเร็จจากผู้ปกครอง
-การสร้างความอบอุ่น
-การให้กำลังใจและแรงเสริม
-หลีกเลี่ยงการครอบงำและใช้อำนาจของบิดา
http://www.huso.buu.ac.th/cai/Sociology

……………………………………………………………….

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License