Uncertainty Theory

Uncertainty and conflict: A point of contact between information-theory and behavior-theory concepts.
By Berlyne, D. E.
Psychological Review. Vol 64(6, Pt.1), Nov 1957, 329-339.
Abstract
"The use of information-theory measures is possible whenever there is a partition and a probability distribution. The stimuli and responses of behavior theory fulfill these conditions, but the situations in which information-theory language has proved useful to psychology have been ones in which conflict is an important factor. The 'uncertainty' function satisfies some of the requirements that may be laid down for a measure of 'degree of conflict.' But it does not satisfy them all without some modification, because it depends on the relative but not the absolute strengths of competing response tendencies." 6 psychological variables: emotional disturbance, reaction time, drive, curiosity, stimulus complexity, and reward are discussed, relative to conflict and information theory. 49 references. (PsycINFO Database Record (c) 2009 APA, all rights reserved)

สภาวะการณ์ไม่แน่นอน (Uncertainty) คัดลอกเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2553 http://www.stou.ac.th/Thai/Schools/sca/MA_TEXT/UNIT07.txt

คือ สภาวะการณ์ที่อาจทราบทางเลือกต่าง ๆ ของการตัดสินใจแต่ไม่สามารที่จะระบุได้ชัดเจนว่า ภายใต้ทางเลือกนั้น ๆ จะเกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง เนื่องจากการขาดแคลนข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจมีข้อมูลไม่เพียงพอหรือมีอยู่น้อยมาก ซึ่งผลจากการมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอนี้ทำให้ไม่สามารถระบุค่าแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น จึงอาจประสบความยุ่งยากใน
การตัดสินใจในบางครั้งเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ อาจไม่ทำการตัดสินใจใด ๆ เลย และอาจใช้วิธีเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อน เพื่อทิ้งช่วงระยะเวลาไว้สำหรับการสะสมหรือรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น เมื่อมีข้อมูลบางส่วนเข้ามาอาจทำให้ความเสี่ยงในการตัดสินใจซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนลดลง จึงค่อยทำการตัดสินใจ แต่ในกรณีไม่มีเวลาพอที่จะรอหรือเลื่อนการตัดสินใจออกไปได้แล้ว อาจทำการตัดสินใจโดยใช้วิธีการเดาสุ่ม อันเป็นวิธีการที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้สูง

ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาและธำรงรักษาความสัมพันธ์ (หน่วยที่ 7 ทฤษฎีการสื่อสารภายในบุคคลและระหว่างบุคคล

รองศาสตราจารย์ ดร. บุษบา สุธีธร) คัดลอกเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2553

เหตุใดบางครั้งคนเราจึงรู้สึกว่าอยากที่จะทำความรู้จัก อยากสื่อสารและอยากเริ่มต้นและพัฒนาความสัมพันธ์กับใครคนใดคนหนึ่งที่เราพบ และในบางครั้งเรากลับรู้สึกอยากยุติหรือเลิกร้างความสัมพันธ์ที่เคยมีกับใครสักคนที่เรารู้สึกไม่อยากสานต่อความสัมพันธ์นั้นอีกต่อไป ทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะหยิบยกมาเสนอสำคัญ ๆ ได้แก่ ทฤษฎีลดความไม่แน่นอน ความไม่แน่ใจ (Uncertainty Reduction Theory) ทฤษฎีว่าด้วยแรงดึงดูดใจ (Attraction Theory) ทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Penetration Theory) และทฤษฎีความเท่าเทียม (Equity Theory) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ทฤษฎีลดความไม่แน่นอน ความไม่แน่ใจ (Uncertainty Reduction Theory)
ทฤษฎีนี้สรุปจากแนวคิดของชาลส์ เบอร์เกอร์ (Charles Berger) และคณะ ได้แก่ ริชาร์ด คาลา บรีส และ เจมส์ บราดา (Richard Calabrese and James Bradac อ้างถึงใน Littlejohn, 1996) สาระสำคัญของทฤษฎีนี้อยู่บนสมมติฐานพื้นฐานสำคัญในเรื่องเหตุและผลของการสื่อสารเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ โดยอธิบายว่า คนเราต้องการอยู่ในสถานการณ์ที่ตนคิดว่าสามารถควบคุมได้และสามารถคาดหมายสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ดังนั้น เมื่อเราเผชิญกับความไม่แน่ใจ เราจะถูกผลักหรือดึงดูดให้เกิดการแสวงหาข้อมูลสารสนเทศจากกันและกันเพื่อลดความไม่แน่ใจนั้น ทฤษฎีลดความไม่แน่ใจได้อธิบายเกี่ยวกับปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญสองประการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของคนเรา กล่าวคือ ส่วนที่เรียกว่า การตระหนักในตนเองหรือการรู้จักตัวอง (self - awareness) และความรู้เกี่ยวกับผู้อื่น (knowledge of others) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.1 การตระหนักในตนเองหรือการรู้จักตนเอง ผลงานวิจัยทางจิตวิทยาสังคมของเบอร์เกอร์ระบุว่า การตระหนักรู้ตนเองของคนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะคนแต่ละคนและยังแตกต่างไปตามแต่ละสถานการณ์อีกด้วย เบอร์เกอร์ระบุว่า คนแต่ละคนมีการตระหนักรู้ตนเองในสองลักษณะ คือ การตระหนักรู้แบบ (objective self-awareness) เป็นลักษณะการให้ความสำคัญกับตนเองเป็นศูนย์กลางมากกว่าสิ่งอื่น ๆ ที่แวดล้อมและการตระหนักรู้ในลักษณะการให้ความสำคัญกับสิ่งรอบข้างมากกว่าตนเองที่เรียกว่า (subjective self-awareness) ตัวอย่างเช่น เมื่อเวลาที่ต้องกล่าวคำปราศรัยบนเวที ในขณะนั้นจิตใต้สำนึกของเราจะบอกเราว่าผู้ฟังกำลังจ้องมองมาที่เรา สภาพการณ์ดังกล่าวเราจะรู้สึกให้ความสำคัญกับความเป็นตัวตนของเราหรือมีการตระหนักรู้แบบ (objective self-awareness ) มากกว่าในการพูดคุยกันเองกับเพื่อนสนิทในวงสนทนาซึ่งขณะนั้นความเป็นตัวตนของเราแทบไม่ได้รับความใส่ใจจากเราเท่าไรนัก ผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การที่คนเราให้ความสำคัญกับตนเองแบบ (objective self-awareness) นี้เป็นเรื่องปกติ อีกทั้งการรู้จักหรือให้ความสำคัญกับตนเองของคนแต่ละคนก็แตกต่างกันไปตามสถานการณ์บรรทัดฐานของสังคมอีกด้วย คนบางคนก็ให้ความสำคัญกับความเป็นตัวตนของตนเองมากและบางคนก็แทบไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้ การตระหนักรู้ในตนเองและการให้ความสำคัญกับตนเองที่มีระดับต่างกันมีความเกี่ยวข้องกับการติดตามตรวจสอบตัวเอง (self-monitor) มากน้อยแตกต่างกัน คนที่ให้ความสำคัญกับตนเองสูงจะมีระดับการตรวจสอบตนเองสูง และมักจะมีความระมัดระวังเกี่ยวกับการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้อื่น จะอ่อนไหว (sensitive) กับปฏิกิริยาป้อนกลับของผู้อื่นและพยายามปรับพฤติกรรมตนเองให้เข้ากับผู้อื่น ในขณะผู้ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งรอบข้างมากกว่า จะมีการตรวจสอบตนเองต่ำและให้ความสำคัญกับการทำให้ผู้อื่นประทับใจในตนเองน้อยกว่า

1.2 ความรู้เกี่ยวกับผู้อื่น การสื่อสารระหว่างบุคคลนอกจากจะเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในส่วนที่เป็นการสร้างความรู้เกี่ยวกับตนเอง การสื่อสารระหว่างบุคคลยังเป็นเครื่องมือในการหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้อื่น ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อลดความไม่แน่ใจว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดในการที่บุคคลพยายามพัฒนาความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น

เบอร์เกอร์อธิบายว่า เมื่อเราพบคนแปลกหน้าเรามักมีความต้องการอย่างมากที่จะลดความไม่แน่ใจอันเกิดจากความไม่รู้จักบุคคลนั้นมาก่อนด้วยการพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับเขา เบอร์เกอร์เสนอว่า ในขณะที่เผชิญหน้ากับคนที่แปลกหน้าเราจะพบกับความรู้สึกลำบาก ยุ่งยากใจอันเนื่องจากความรู้สึกไม่แน่ใจ ความไม่รู้จักทำให้เราไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นได้ ในสถานการณ์เช่นนี้เรามักมีแรงจูงใจที่จะแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับเขาให้มากขึ้น ๆ ความพยายามในการลดความไม่แน่ใจต่าง ๆ นี้จึงนับเป็นมิติแรกของการสร้างความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น

ทฤษฎีการลดความไม่แน่ใจนี้ได้รับการประยุกต์ไปใช้ในการศึกษาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมโดย วิลเลียม กูดีคันสท์ (William Gudykunst,1988 อ้างถึงใน Littlejohn,1996) เขาพบว่าทุกวัฒนธรรมต่างพยายามที่จะลดความไม่แน่ใจในขั้นแรกของการพบกันด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ละวัฒนธรรม ว่ามีการให้ความสำคัญกับบริบททางวัฒนธรรมในระดับที่สูงกว่าหรือต่ำกว่า สำหรับผู้คนที่ให้ความสำคัญกับบริบททางวัฒนธรรมในระดับที่สูง (high-context culture) จะตีความหรือแปลความหมายของเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการพิจารณาจากองค์ประกอบของสถานการณ์ทั้งหมดโดยรวม ในขณะที่ผู้คนในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับบริบททางวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าจะให้ความสำคัญกับคำพูดเนื้อหาสารที่ปรากฏให้เห็นมากกว่าจะพิจารณาบริบทในการสื่อสาร กูดีคันสท์ยกตัวอย่างจากงานวิจัยว่า ผู้ให้ความสำคัญกับบริบททางวัฒนธรรมสูงเช่นคนญี่ปุ่น จะให้ความสำคัญกับอวัจนสารประกอบทั้งหมดที่ปรากฏและมักพูดคุยเกี่ยวกับภูมิหลังของทั้งสองฝ่ายในบทสนทนาเมื่อพบกันครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับคู่สื่อสาร เป็นการลดความไม่แน่ใจ ลักษณะเช่นนี้ผู้เขียนเห็นว่าพบได้ในสังคมไทยเช่นกัน เมื่อคนไทยพบปะและพูดคุยกันครั้งแรกมักจะสอบถามเกี่ยวกับโรงเรียนเดิม หรือสถาบันการศึกษาของอีกฝ่าย หรือบางครั้งก็สอบถามเกี่ยวกับผู้คนที่ทั้งสองฝ่ายรู้จัก ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความรู้สึกความเป็นพวกเดียวกัน นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับคำว่ากาละ เทศะ ของการพูดคุย การให้ความสำคัญกับระดับภาษาที่เลือกใช้กับระดับบุคคลที่แตกต่างกัน องค์ประกอบเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมของผู้คนที่ให้ความสำคัญกับบริบททั้งสิ้น แต่ในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับบริบทน้อยกว่า เช่น สังคมของคนอังกฤษหรืออเมริกันจะถามคำถามที่นำมาพูดคุยแม้เป็นการพบกันครั้งแรกอาจเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ทั่วไป มากกว่าจะให้ความสำคัญกับภูมิหลัง ที่มาและองค์ประกอบอื่น ๆ ของคู่สนทนา

ขอตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงค่ะ (จิตเกษม ตัณฑศิริ) ในการทำงานของตนเอง ต้องพบเจอกับข้าราชการต่างกระทรวง ที่ต้องร่วมเดินทางไปทำงานด้วยกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อปลายเดือนมกราคม 2553 ที่ผ่านมา ต้องเดินทางไปทำงานร่วมกับกรมประมงและกรมปศุสัตว์ ทำงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศลาว เป็นเวลา 5 วันเต็มโดยต้องนั่งรถไปตรวจสอบพื้นที่โครงการและหารือพูดคุยกันไปตลอด 5 วันด้วยกัน ในบรรยากาศการพบปะกันครั้งแรก เราจะรู้สึกถึงความไม่แน่นอนทันที เนื่องจากเป็นคนแปลกหน้า ทั้งกลุ่มยังไม่เคยรู้จักกัน แต่เมื่อต้องมาทำงานร่วมกัน ก็ต้องทำความรู้จักกันก่อน ด้วยการแนะนำตัวเอง พอดีว่าเราจบการศึกษาจาก ม. เกษตร เราจึงสามารถสร้างความแน่นอนหรือลดความไม่แน่นอนให้แก่กลุ่มได้ จึงสอบถามว่าแต่ละคนจบ ป. ตรี มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรหรือคะ (อันนี้ต้องมีความแน่ใจครึ่งหนึ่งก่อน เนื่องจากเรื่องปศุสัตว์และประมงต้องเป็นคนที่จบเฉพาะทางมา ถ้ามีพื้นฐานจบ ป.ตรีในไทยก็คงไม่น่าจะพ้น ม. เกษตร) เป็นการสร้างบรรยากาศการสื่อสารระหว่างบุคคลให้รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน การหาความรู้เกี่ยวกับผู้อื่น การสื่อสารระหว่างบุคคลนอกจากจะเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในส่วนที่เป็นการสร้างความรู้เกี่ยวกับตนเอง การสื่อสารระหว่างบุคคลยังเป็นเครื่องมือในการหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้อื่น ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อลดความไม่แน่ใจว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดในการที่บุคคลพยายามพัฒนาความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น และก็เป็นไปตามที่คาดเดา คือทุกคนจบ ป. ตรีจาก ม. เกษตร เราจึงคุยกันได้ถูกคอกันมากขึ้น เนื่องจากเราได้พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์วัยเด็กที่คล้ายกัน นอกจากนั้น ก็จะมีการสอบถามว่า แล้วไปเรียนต่อหรือจบจากที่ไหนอีก ก็จะได้เพื่อนที่จบโทที่เดียวกันหรือต่างประเทศที่ไปเรียนมาเหมือนกัน ยิ่งสร้างบรรยากาศความคุ้นเคยได้รวดเร็วขึ้น และลดความรู้สึกไม่แน่ใจในการพูดคุย และประชุมหารืออย่างเป็นทางการได้ และจะช่วยประสานความเข้าใจกันและกันและทำให้คลายความเครียดในการประชุมได้ นอกจากนี้ เรายังได้ใช้กลยุทธ์นี้ กับกลุ่มลาวด้วย เป็นการช่วยให้การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้ผลมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในการสื่อสารเรื่องงานกับคนชาติอื่นและต่างวัฒนธรรม หากไม่รู้เขา อาจทำให้เสียหายได้ โดยเมื่อจะต้องปฏิเสธในเรื่องที่คนต่างชาติคาดหวังไว้ ตามที่มีการทำบันทึกช่วยจำเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่เราจะหาเหตุผลอื่นมาใช้ปฏิเสธ ไม่ดำเนินการตามที่ได้ตกลงกันไว้ แม้ว่าเราจะพิจารณาทบทวนใหม่ และพบว่า การผูกพันความช่วยเหลือไปแล้วนั้น จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือเกิดความคุ้มค่าน้อย และเราจะไม่ดำเนินการ โดยจะขอยกเลิก เรายังต้องกลับมาทบทวนอีก ด้วยความไม่แน่ใจในการตัดสินใจใหม่ของเรา และด้วยสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง เราจึงต้องตัดสินใจยืนยันการตกลงเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านจากอีกฝ่าย โดยต้องยึดเอาการตกลงตั้งแต่ต้นมาอ้างว่าเราจะยังให้ความช่วยเหลือต่อไป เพื่อลดหรือป้องกันการเกิดความขัดแย้งที่ง่ายต่อการเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มคน 2 ประเทศ

ขอยกตัวอย่าง Uncertainty Theory ในแง่มุมของทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้ตัดมาบางส่วนดังข้างล่าง ส่วนรายละเอียดทั้งหมดสามารถดาวโหลดได้ดังเว็บไซต์ที่ให้ไว้ข้างล่าง

Uncertainty Theory
Most human decisions are made in the state of uncertainty (neither randomness
nor fuzziness). This fact provides a motivation to study the behavior of
uncertain phenomena. In order to model uncertainty, a mathematical tool
is absolutely needed. This is just the uncertain measure that is essentially
a set function (i.e., a function whose argument is a set) satisfying certain
mathematical properties. Uncertain measure is used to measure the truth
degree of an uncertain event. In order to develop a mathematical theory
of uncertain measure, Liu [120] founded an uncertainty theory in 2007 that
is a branch of mathematics based on normality, monotonicity, self-duality,
countable subadditivity, and product measure axioms. Uncertainty theory
provides a mathematical model for uncertain phenomena.

What is Uncertainty?
“what is uncertainty”. Perhaps we can
answer it this way. If it happened that some phenomena can be quantified
by uncertain measure, then we call the phenomena “uncertainty”. In other
words, uncertainty is any concept that satisfies the axioms of uncertainty theory.
Thus there are various valid possibilities (e.g., a personal belief degree)
to interpret uncertainty theory.

สามารถโหลดรายละเอียดเรื่อง Uncertainty Theory ที่ http://www.orsc.edu.cn/~liu/ut.pdf
ที่มา Uncertainty Theory
Third Edition
Baoding Liu
Uncertainty Theory Laboratory
Department of Mathematical Sciences
Tsinghua University
Beijing 100084, China
nc.ude.auhgnist|uil#nc.ude.auhgnist|uil
http://orsc.edu.cn/liu

ในเอกสารประกอบการเรียนการสอน Chapter 8 หัวข้อ Uncertainty Theory จะพบคำว่า chaos ซึ่งหมายถึง ความไม่มีระเบียบ ความโกลาหล หรือความอลหม่าน จึงศึกษาต่อถึงทฤษฎี chaos theory มีผู้ให้ความหมายและนำทฤษฎีนี้ไปวิเคราะห์เหตุการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ ดังนี้

Chaos, chaos theory ทฤษฎีไร้ระเบียบ แนวคิดทฤษฎีที่คัดค้านทฤษฎีฟิสิกส์แบบนิวตัน ที่ตั้ง สมมติฐานว่าจักรวาลมีระเบียบอยู่บนพื้นฐานแบบคณิตศาสตร์และกฏที่พิสูจน์ได้ ทฤษฎีระเบียบนี้พัฒนาจากการสร้างโมเดลการพยากรณ์อากาศโดยคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1950 และพบว่าพฤติกรรมที่ผิดปกติ มีความไม่แน่นอนสูงในระบบที่เคลื่อนไหวทุกชนิด นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มต้น อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดโกลาหลคาดการณ์ไม่ได้ในภายหลัง จากพื้นฐานของวิชาฟิสิกส์ ทฤษฎีนี้ยังได้พยายามอธิบายเรื่องอื่นๆในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปะ ชีววิทยา ฯลฯ ว่าในระบบที่เคลื่อนไหวนั้น มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ, มีความไม่แน่นอนสูง และมนุษย์เรายังมีความรู้ความสามารถจำกัดเกินกว่าที่จะเข้าใจโลกได้อย่างแท้จริง ทฤษฎีนี้ช่วยให้เรามองระบบต่างๆว่าเป็นสิ่งที่มีพลังเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่เสมอ แทนที่เราจะมองแต่ปัญหาที่หยุดนิ่ง
ที่มา
วิทยากร เชียงกูล
อธิบายศัพท์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, – - กรุงเทพฯ : สายธาร, 2550.
ISBN : 978-974-94365-7-8
http://witayakornclub.wordpress.com/2008/04/10/chaos-theory/ ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล

Chaos Theory ในการวิเคราะห์สังคมไทย: กรณีศึกษา “พัชรวาท” และพรรคประชาธิปัตย์
Chaos Theory คือ ทฤษฎีใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ถูกหยิบยกมาใช้อธิบายสังคมไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2537 แต่แล้วก็เงียบหายไป อาจเป็นเพราะว่า “สังคมไทย” ในช่วงนั้นยังไม่เข้าสู่ภาวะ “เปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่” จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีใหม่ๆในการอธิบายมากนักแน่นอนว่า ความสนใจในการนำ Chaos Theory มาวิเคราะห์สังคมไทยยังไม่หายไปเสียทีเดียว ยังคงมี “นักคิด” ที่พยายามประยุกต์ใช้ทฤษฏีนี้อยู่บ้าง ที่เห็นได้ชัดก็คือ “โครงการ Challenge Thailand 2010″ ที่ได้สัมภาษณ์นักคิด นักการเมือง นักการทหาร และนักเคลื่อนไหวจำนวน 13 คน และมีถึง 4 คน ที่กล่าวถึง Chaos Theory ไม่ว่าจะเป็น “จักรภพ เพ็ญแข” สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ “วิจารณ์ พานิช” และ พลเดช ปิ่นประทีป
ยิ่งกว่านั้น ในบทความที่ชื่อ “จากใจสู่ใจ มอบให้พี่เสถียร จันทิมาธร” ได้ประยุกต์ใช้ Chaos Theory ในการวิเคราะห์พลวัติสังคมไทย โดยซ่อนนัยความหมายผ่านตัวละครในประวัติศาสตร์จีน ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับตัวละครในการเมืองไทยปัจจุบัน
ล่าสุด “มติชน” หนังสือพิมพ์ที่เป็นตัวแทนของ “ปัญญาชน” ในเมืองไทย ได้เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการค้นหาทฤษฎีใหม่ เพื่อใช้อธิบาย “ภาวะเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่” ของสังคมไทย โดยการนำเสนอบทความ “กรณีศึกษาพัชรวาท ปชป.กอดทฤษฎีเคออส สลายขั้วแบ่งข้างปกครอง” ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของ Chaos Theory ในฐานะทฤษฎีที่แหลมคมในการอธิบายภาวะลักลั่นย้อนแย้งทางการเมืองไทยในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม บทความนี้ของมติชน ยังมีจุดอ่อนตรงที่การขาดแคลนมุมมองใน “ภาพใหญ่” ของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ที่มีผลกำหนดให้ “การเมืองไทย” ในรัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องตกอยู่ในภาวะ Chaos
“บทความมติชน” เพียงแต่เข้าใจว่า “สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้…เป็นบรรยากาศที่ช่างไร้ระเบียบ ไร้หลักการ ยากที่จะทำนาย (Unpredictable) มีแต่การลุ้นระทึกว่าอะไรจะเกิดขึ้นในลำดับถัดไป” โดยลืมมองไปว่า การต่อสู้ช่วงชิงทางการเมืองในทุกยุคทุกสมัยก็ล้วนแต่มีความไร้ระเบียบเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ Chaos Theory มาจับก็สามารถอธิบายได้ แต่เหตุใด “ความไร้ระเบียบ” ในช่วงนี้จึงอธิบายด้วย Chaos Theory
แท้จริงแล้ว Chaos Theory ไม่ใช่ทฤษฎีที่ใช้อธิบายภาวะไร้ระเบียบแบบธรรมดาทั่วไป ซึ่งสุดท้ายของเหตุการณ์ก็จะกลับเข้าสู่ระเบียบเดิม (Order) แต่ได้มุ่งเน้นไปที่ภาวะไร้ระเบียบ ที่จะไม่หวนกลับไปสู่สถานะเดิม (Old Order) แต่จะนำไปสู่ระเบียบใหม่ (New Order) ที่จะบังเกิดขึ้นมาภายหลังภาวะไร้ระเบียบ(Chaos) สิ้นสุดลง
สิ่งที่น่าสนใจ คือ “บทความมติชน” ได้อ้างอิงไปถึง การวางแผนของพรรคประชาธิปัตย์หลายปีก่อน เพื่อประยุกต์ใช้ Chaos Theory มาเป็นกลยุทธ์เพื่อสู้กับพรรคไทยรักไทย โดยเน้นไปที่การ “สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการยกปมการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลขึ้นมาขยายฉายซ้ำ” ซึ่งหากพรรคประชาธิปัตย์หรือฝ่ายอื่นๆได้ประยุกต์ใช้แนวทางนี้จริงๆ ก็จะพบว่า Chaos Theory ที่ผู้ใช้คาดหวังว่าจะทำลายพรรคไทยรักไทยนั้น ในที่สุดกลับทำให้เกิดผลเป็นขุมกำลัง “เสื้อแดง” และขุมกำลังอื่นๆที่ควบคุมไม่ได้ออกลูกออกหลานเต็มไปหมด และส่วนหนึ่งได้กลับมากระทบ “พรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งกำลังถูก Chaos Theory สั่นคลอนอยู่ในขณะนี้
ยิ่งกว่านั้น “บทความมติชน” ยังได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “หลายเหตุการณ์ที่พรรคร่วมรัฐบาลประสบ แผนการโต้กลับของประชาธิปัตย์ที่มีต่อฝ่ายค้านและมวลชนฝ่ายตรงข้าม ช่างละม้ายคล้ายกับแนวคิด Chaos Theory ที่ขุนพลประชาธิปัตย์เคยตั้งวงถกเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน” ซึ่งมองจากมุมนี้จะยิ่งเห็น “ความลักลั่นย้อนแย้ง” เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการผ่าน Chaos Theory มาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ก็กลายเป็นว่าภาวะ Chaos นั้น ได้กลับมาส่งผลต่อพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้เช่นกัน
ทั้งหมดที่กล่าวมา จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ลึกซึ้งครอบคลุมยิ่งขึ้นว่า ภาวะ Chaos Theory ได้ครอบคลุมสังคมไทยกว้างไกลและลึกซึ้งเกินกว่าจะเป็นเพียงแค่ “การสร้างสถานการณ์” ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอีกต่อไป
หากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย ขุมกำลังเสื้อแดง NGOs บูรพาพยัคฆ์ หรือขุมกำลังทั้งที่เปิดเผยและซุ่มซ่อน ต้องการที่จะได้รับชัยชนะในช่วง Chaos Theory ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระเบียบใหม่ (New Order) ย่อมต้องทำการศึกษา “ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ” ของสังคมไทยและสังคมโลกอย่างรอบด้าน เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในภาพอนาคต (Scenario) ที่สังคมไทยจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระเบียบใหม่ (New Order)
การกำหนด “กลยุทธ์” เพื่อรับมือกับภาวะ Chaos Theory จึงไม่ใช่เพียงการสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อทำให้ประชาชนเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียว เพราะในภาวะ Chaos Theory ที่ทุกขุมกำลังถูกโยงใยกันอย่างสลับซับซ้อนนั้น การกระทำเพื่อมุ่งหวังผลทางตรง อาจนำไปสู่ผลทางอ้อมมากมายสุดคณานับ ซึ่งสุดท้ายอาจย้อนกลับมาทำร้ายผู้กระทำได้
“กลยุทธ์” ที่ดีที่สุด ในการตอบโต้กับภาวะ Chaos Theory มีดังนี้
1. พิจารณาสถานการณ์แบบองค์รวมโดยใส่ “สถานการณ์จำลอง (Scenario)” เข้ามาอยู่ในสมการกลยุทธ์ มนุษย์มักถูกครอบงำด้วย “กรอบคิด” โดยไม่รู้ตัว ซึ่งในภาวะปกติย่อมไม่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์มากนัก แต่ในภาวะ Chaos นั้น จะต้องพยายามสร้าง “Scenario” เพื่อเป็นตัวแทนภาพอนาคต ในการกำหนดกลยุทธ์ที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ไปวันๆ ตัวอย่างเช่น “เสื้อแดง” ที่รวมตัวกันเพื่อสนับสนุน “อดีตนายก” นั้นย่อมไม่ได้เกิดจากการถูกหลอกลวงมาเพียงอย่างเดียว เพราะไม่เช่นนั้นก็คงสลายตัวไปนานแล้ว แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ “อดีตนายก” มีนโยบายและการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการของ “เสื้อแดง” ดังนั้น วิธีสลายเสื้อแดง จึงไม่ใช่เพียงการจัดการ “อดีตนายก” ซึ่งนอกจากเสียเวลาเปล่าแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดอีกด้วย การแยกสลาย “อดีตนายก” กับ “เสื้อแดง” จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการอ่านสถานการณ์ในอนาคตที่ “เสื้อแดง” จะวิวัฒน์ไป แล้วบริหารประเทศให้สอดรับกับความต้องการนี้ จึงจะทำให้ “อดีตนายก” ถูกโดดเดี่ยวและพ่ายแพ้ได้
2. ใส่ใจ “ปรากฎการณ์หรือขุมกำลัง” ขนาดเล็กที่เคยมองข้ามไป Chaos Theory มักให้ความสำคัญกับ “ปรากฎการณ์เล็กๆ” ที่อาจพลิกเปลี่ยนสถานการณ์ใหญ่ไปสู่ทิศทางใหม่โดยไม่คาดฝัน เนื่องเพราะในสถานการณ์ Chaos นั้น “กฎเกณฑ์เดิม” ล้วนแต่ถูกทำลายลง ดังนั้นจึงเปิด “ช่องว่าง” ให้กับปรากฎการณ์หรือขุมกำลังขนาดเล็กได้มีบทบาทสำคัญต่อสถานการณ์ใหญ่ได้ ตัวอย่างเช่น “นายทหารระดับสูง” ซึ่งเคยมั่นใจในความภักดีของลูกน้องว่า “พวกเขาจะต้องนำกำลังทหารมาสนับสนุน เมื่อตนเองมีคำสั่งไป” ก็อาจประเมินผิดพลาด เพราะในภาวะ Chaos ที่กฎเกณฑ์เดิมถูกทำลาย “ลูกน้อง” ก็อาจไม่เชื่อฟัง “ลูกพี่” โดยไม่จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย เพราะเกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้นมา ดังนั้น ขุมกำลังทั้งหลาย จึงอาจแทรกซึมเข้าไปในขุมกำลังฝ่ายตรงข้ามได้ โดยไม่จำเป็นต้องเกลี้ยกล่อม “ผู้นำระดับสูง” แต่อาจดำเนินการผ่าน “ผู้นำระดับกลาง” ที่คุมกำลังและทรัพยากรสำคัญแทน
3. ใช้มุมมองใหม่ในการประเมินมิตรและศัตรู Chaos Theory จะทำลาย “กฎเกณฑ์เดิม” ดังนั้น มิตรและศัตรูของขุมกำลังต่างๆ ก็อาจเปลี่ยนข้างย้ายขั้วได้หลากหลายและซับซ้อนกว่าปกติ ดังนั้น หากใครสามารถมองเห็น Scenario ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ย่อมสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวทั้งการประสานมิตรและสร้างศัตรูได้แม่นยำกว่าคนอื่น ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ที่ดีกว่าได้ ตัวอย่างเช่น “การลอบยิงแกนนำพันธมิตร” ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เกิดจากการกำจัดคนที่ควบคุมได้ยากของฝ่ายเดียวกัน เมื่อเข้าใจสาเหตุนี้ก็ย่อมสามารถเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตรได้ เช่นเดียวกับ “คำพิพากษากรณีเหตุการณ์ 7 ตุลา” ก็อาจเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตรได้อีกเช่นกัน ทั้งหมดสรุปได้เพียงประโยคเดียว
“Chaos Theory สามารถอธิบายภาวะเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ ที่กฎเกณฑ์เดิมได้ถูกทำลายลง ดังนั้น ผู้เล่นที่ปรารถนาชัยชนะจะต้องมองเห็นช่องว่างระหว่างกฎเกณฑ์เดิมกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่กฎเกณฑ์ใหม่ ภายใต้ภาวะใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้น เพื่อกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้อง”

ที่มา http://www.siamintelligence.com/chaos-in-politic/ วันที่สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2553

มุมมองความไม่แน่นอนกับการสื่อสารในการจัดการความขัดแย้งมองว่า
เมื่อเกิดความขัดแย้งจะทำให้อีกฝ่ายไม่ไว้วางใจ มีความรู้สึก นึกคิดและทัศนคติหรือมุมมองที่ไม่ดีกับอีกฝ่าย ความสัมพันธ์แย่ลง ซึ่งจะสามารถลดความไม่แน่นอนในสถานการณ์ความขัดแย้งหนึ่งๆ ได้โดยเลือกที่จะไว้วางใจอีกฝ่ายซึ่งจะไว้วางใจหรือไม่ขึ้นอยู่กับกระทำหรือพฤติกรรมที่ผ่านมา ตัวอย่าง เช่น หนุ่มกับสาวนัดกันไปฉลองงานวันเกิด ถึงเวลานัดหนุ่มไม่มา แน่นอนว่ามีอารมณ์โกรธ คิดไปต่างๆ นาๆ เช่น ไปกับสาวที่ไหนหรือเปล่า และมีมุมมองว่าผู้ชายผิด (การด่วนตัดสินหรือการเดาโดยไม่มีข้อมูลเพียงพอ ทำให้โอกาสเกิดความผิดพลาดสูงมีความไม่แน่นอน) อาจจะถึงขั้นตัดความสัมพันธ์ ภายหลังหนุ่มก็อธิบายให้ฟังว่ามีงานด่วนต่างจังหวัดตั้งใจจะกลับมาให้ทัน เครื่องดีเลย์ไปเกือบสองชั่วโมง แบตเตอรี่โทรศัพท์ก็บังเอิญหมดอีก (เลือกที่จะอธิบายภายหลังเพราะถ้าพูดอะไรไปตอนที่สาวโกรธก็จะเกิดการทะเลาะกัน) และได้มีของขวัญที่สาวชอบมาฝากด้วย ตอนแรกก็อาจไม่เชื่อ เมื่อนึกย้อนถึงเวลาที่คบกันมาเกือบสิบปี หนุ่มเป็นคนตรงเวลา ดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอ ไม่เคยผิดนัด สาวก็อาจเลือกที่จะเชื่อใจไว้วางใจหนุ่ม

อีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นการลดความไม่แน่นอนในสถานการณ์ความขัดแย้งหนึ่งๆ โดยเลือกที่จะไว้วางใจคนอื่นๆ ซึ่งจะไว้วางใจหรือไม่ขึ้นอยู่กับกระทำหรือพฤติกรรมที่ผ่านมา เช่น การขับรถในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย เมื่อถึงทางแยก ตัดสินใจไม่ได้ จะไปทางไหนดีมีทางเลือกหลายทางเริ่มสับสน คิดหาข้อดีข้อเสีย แต่ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ มองว่าอาจเป็นความขัดแย้งในใจอย่างหนึ่ง เพื่อนที่มาด้วยกันสองคน คนแรกเสนอว่า ไปทาง ก. คนนี้สมัยเรียนลูกเสือเนตรนารีด้วยกันนำทางผิดตลอด ส่วนคนที่สอง เสนอว่าไปทาง ข. คนนี้เวลาไปเดินป่าจะเป็นคนนำทางและไม่เคยพาหลงเลย คนขับก็อาจจะเลือกที่จะไว้วางใจ คนที่สอง ไปทาง ข. (มองว่าเป็นกรอบประสบการณ์อย่างหนึ่ง)

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเหมืองหินเขาคูหา จ.สงขลา ในการคัดค้านการต่ออายุสัมประทาน
ความคัดแย้งระหว่างชาวบ้านในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ กับบริษัท พีรพลมายนิ่ง เริ่มชัดขึ้นช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 เมื่อชาวบ้านกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันในนามเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำ เหมืองหินเขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา นำโดยว่าที่ร้อยตรีหญิงนฤมล จันทสุวรรณ ได้ทำหนังสือยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้ชะลอการต่ออายุประทานบัตรการทำเหมืองหินเขาคูหา บริษัท พีรพลมายนิ่ง จำกัด ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2552 และให้ทบทวนประทานบัตรของนายมนู เลขะกุล ที่มีเหมืองหินอยู่ใกล้กันที่จะสิ้นสุดประทานบัตร ในวันที่ 9 เมษายน 2553 เนื้อที่รวม 219 ไร่
โดยระบุเหตุผลว่า การทำเหมืองหินเขาคูหามีผลกระทบต่อชุมชนมากว่า 20 ปี มีการประท้วงเป็นระยะๆ ซึ่งมีผู้เดือดร้อนทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับการเยียวยา ทั้งผลกระทบทางเสียงจากเครื่องจักรทั้งกลางวันและกลางคืน เสียงหัวเจาะอัดระเบิด เสียงระเบิด เสียงการคุ้ยหิน เสียงจากการกระแทกหิน เสียงจากการลำเลียงหิน ย่อยหินโม่หิน เป็นต้น
โดยเฉพาะเสียงระเบิดหิน ได้ยินไกลถึง 10 กิโลเมตร ได้ยินเสียงทั้งในตำบลคูหาใต้ เขตตำบลกำแพงเพชร ตำบลควนรู ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ บางส่วนของอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา และอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ผลกระทบจากฝุ่นซึ่งมาจากการเจาะอัดระเบิด การระเบิดหิน การคุ้ยหินจากยอดเขาให้ตกลงสู่ด้านล่าง ฝุ่นจากการโม่หินย่อย ฝุ่นจากการขนส่งลำเลียงบนถนน โดยอาจก่อให้เกิดโรคซิลิโคซิส หรือโรคปอดฝุ่นใยหิน ซึ่งมีระยะการสะสมฟักตัวประมาณ 20 ปี ผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน ทำให้บ้านเรือนแตกร้าว ทรัพย์สินเสียหาย ที่สำคัญขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ได้รับผลกระทบ
นอกจากนี้ ยังขอให้สนับสนุนเครือข่ายองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ที่กระทบ เพื่อหามาตรการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ให้ประสานกับสถาบันการศึกษาที่ชุมชนเชื่อถือศึกษาอีไอเอ รวมถึงการศึกษาผลกระทบทางด้านสุขภาพ หรือ เอชไอเอ (HIA) ตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติด้วย
รวมทั้งสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูล โดยเฉพาะอีไอเอทั้งฉบับเก่าและฉบับปัจจุบันที่ใช้ประกอบในการขอประทานบัตร ฉบับใหม่ เอกสารการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในการขอประทานบัตรครั้งแรกและครั้ง ปัจจุบัน เป็นต้น
นายเอกชัย อิสระทะ แกนนำเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองหินเขาคูหา ระบุว่า โครงการเหมือนหินเขาคูหาใต้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนน้อยมาก ขัดกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ได้บัญญัติสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐ และชุมชนในการอนุรักษ์บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
“จึงต้องการเรียกร้องให้ตัวแทนประชาชน และผู้เกี่ยวข้องชะลอการพิจารณาตัดสินใจการต่ออายุประทานบัตรของบริษัทพีรพล พลายนิ่ง ในครั้งนี้ไปอย่างไม่มีกำหนด และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครองและองค์กรชุมชนประสานกับสถาบันการศึกษาที่เชื่อถือได้เข้ามาร่วม ศึกษาอีไอเอ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และเอชไอเอ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกำหนด และให้จัดเวทีการปรึกษาหารือของประชาชนเพื่อหามาตรการแนวทางการดำเนินการและ แก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว” นายเอกชัยกล่าว
จนกระทั่งต่อมาในอาทิตย์ ที่ 27 ธันวาคม 2552 เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองหินเขาคูหา ได้เปิดเวทีการเรียนรู้ โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา ที่โรงเรียนวัดเจริญภูผา (จุ้มปะ) ตำบลคูหาใต้ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 1 (สงขลา) และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 และชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 5, 7, 9 และ 12 ตำบลคูหาใต้ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหมืองหินเข้าร่วม มีนางพิชยา แก้วขาว เป็นผู้ดำเนินรายการ
แม้จะเป็นเวทีการเรียนรู้ในเรื่องข้อกฎหมายและขั้นตอนการต่ออายุประทาน บัตร(อ่านล้อมกรอบด้านล่าง) แต่ก็เป็นเวทีหนึ่งที่ชาวบ้านได้สะท้อนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น อย่างครูคนหนึ่ง เล่าว่า ผลกระทบจากเหมืองหินดังกล่าว มีทั้งผลกระทบด้านเสียง ฝุ่นละออง มีก้อนหินกระเด็นตกใส่หลังคาบ้านจนแตกร้าว พวกเด็กๆ หวาดผวากับเสียงระเบิดที่ดังมาก ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยที่ผ่านมาได้ร้องเรียนไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้งแล้ว แต่ปัญหายังเหมือนเดิม
จากนั้นในเวทีมีการหารือถึงการสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และหาแนว ทางในการดำเนินการคัดค้านให้ประสบผลสำเร็จก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมลงนามในใบอนุญาตต่ออายุประทานบัตร โดยการใช้ข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การขอติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเสียงประจำ เป็นต้น
ขณะที่ชาวบ้านรายหนึ่งระบุว่า เคยเห็นข้อมูลอีไอเอฉบับที่จะใช้ต่ออายุประทานบัตร ระบุเพียงว่า มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองหินเพียง 15 หลังคาเรือนเท่านั้น และไม่มีบ้านเรือนชาวบ้านอยู่ใกล้เหมืองหินเลย ถามว่าใช้มาตรฐานอะไรในการพิจารณา และจาการสอบถามชาวบ้านที่ลงชื่อเห็นด้วยกับการต่ออายุประทานบัตรในอีไอเอก็ ทราบว่า ไม่เคยลงชื่อในการประชุมรับฟังความคิดเห็นในเรื่องการต่ออายุประทานบัตร แต่เป็นการลงชื่อในการประชุมในเรื่องอื่น
นายสุวรรณ อ่อนรักษ์ รองนายก อบต.คูหาใต้ ในฐานะแกนนำเครือข่ายฯ ย้ำในเวทีว่า ในการจัดทำอีไอเอ ไม่เคยเห็นบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาถามชาวบ้านในพื้นที่เลย แม้ตนมีตำแหน่งอยู่ในฝ่ายบริหารของ อบต.คูหาใต้ แต่ก็ไม่ใช่สมาชิกสภา อบต.ที่มีสิทธิออกเสียงลงมติคัดค้านการเห็นชอบให้ทำเหมืองหินได้
ขณะที่นายพรเทพ จิตต์ภักดี หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา บอกว่า เหมืองหินดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 บี ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย ดังนั้นการขอต่ออายุประทานบัตรจึงจำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยด้วย
แม้ชาวบ้านยืนยันว่า กระบวนการจัดทำอีไอเอและการขอต่ออายุประทานบัตรขาดการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ในพื้นที่ แต่ อบต.คูหาใต้ ก็ได้ลงมติให้ความเห็นชอบให้ทำเหมืองหินในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 บี ไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 52
ขณะที่นายเสรี ศรีหะไตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาให้รับผิดชอบเรื่องนี้ ก็ระบุในทำนองว่า ตนต้องให้ความเห็นชอบตามความเห็นของ อบต.คูหาใต้ มิฉะนั้นตนอาจถูกผู้ประกอบการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
โดยระหว่างการพิจารณาของผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่นั้น ทางเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองหินเขาคูหา จึงพยายามเสนอให้ตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อหาทางออกในปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ในขณะที่ทางบริษัท พีรพลมายนิ่ง จำกัดเอง ก็ได้เปิดเวทีโรงโม่หินพีรพลพบประชาชนขึ้น เพื่อลดแรงเสียดทานจากกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2553 ที่โรงเรียนโรงเรียนวัดเจริญภูผา(จุ้มปะ) ตำบลคูหาใต้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน
ขณะที่ชาวบ้านรายหนึ่ง กล่าวว่าในเวทีถึงผลกระทบที่ได้รับจากการทำเหมืองหินดังกล่าวว่า ตนต้องการว่าจ้างไถนา แต่ได้รับการปฏิเสธจากเจ้าของรถไถ โดยให้เหตุผลว่า บริเวณนาแปลงนั้นมีก้อนหินจำนวนมากที่กระเด็นตกใส่ที่นาจากการระเบิดหิน ทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องจักรไถนาได้
ด้านนายธม เหมพันธ์ ผู้จัดการบริษัท พีรพลมายนิ่ง จำกัด บอกว่า ชาวบ้านต้องเลือกระหว่างการมีอาชีพกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถแก้ได้ แต่ถ้าบริษัทฯ ไม่ได้รับการต่ออายุประทานบัตรก็จะมีชาวบ้านที่ต้องตกงาน จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา ส่วนปัญหาเรื่องสุขภาพก็ได้ดำเนินการจัดการไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย
เสียงจากฝ่ายหนุน ผลประโยชน์จากโรงโม่
ส่วนนายอดุล ขุนเพชร กำนันตำบลคูหาใต้ กล่าวว่า บริษัท พีรพลมายนิ่ง จำกัด ดำเนินการมากว่า 10 ปี มีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีทั้งสภาพอากาศ ระดับเสียงและแรงสั่นสะเทือน จนได้รับรางวัลการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับดีเยี่ยม ที่สำคัญได้คำนึงถึงความอยู่รอดของชุมชนโดยชาวบ้านได้รับประโยชน์ เช่น จากการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน มอบทุนการศึกษาให้โรงเรียนและนักเรียน ทุนอาหารกลางวัน บริการตรวจสุขภาพแก่ชุมชน ชาวบ้านมีงานทำ
ที่มา http://www.thaiindy.org มูฮำหมัด ดือราแม, ประชาไท, 24 ม.ค. 2553 วันที่สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2552

วิเคราะห์
กรณีนี้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อหาทางออก โดยเปิดเวทีโรงโม่หินพีรพลพบประชาชน มองว่าเมื่อมีเวทีรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นก็จะทำให้เข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วม นับว่าใช้การสื่อสารที่ไม่ได้มองว่าใครผิดถูกแต่เป็นการฟังกันและแสดงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหา
จากกรณีนี้วิเคราะห์จากความหมายของความไม่แน่นอนดังข้างต้น จะเห็นว่าช่วงแรกชาวบ้านเลือกไม่ให้ต่ออายุสัมปทาน (อาจมีมุมมองด้านลบของโรงงานเพียงด้านเดียว เพราะทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตจึงต่อต้าน ) พอได้เข้าร่วมพูดคุยกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ชาวบ้านต้องพบกับทางเลือกสองทาง คือ จะเลือกสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสุขภาพ หรือการมีอาชีพ ถ้าบริษัทฯ ไม่ได้รับการต่ออายุประทานบัตรก็จะมีชาวบ้านที่ต้องตกงาน เป็นสภาวการณ์ไม่แน่นอน คือ ทราบทางเลือกต่าง ๆ ของการตัดสินใจแต่ไม่สามารถที่จะระบุได้ชัดเจนว่า ภายใต้ทางเลือกนั้น ๆ จะเกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง คือมีข้อมูลทั้งสองด้านแต่อาจจะยังไม่เพียงพอ เช่น ชาวบ้านรู้ว่าโรงงานมีการทำมาตรฐานอีไอเอ ได้รับได้รับรางวัลการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับดีเยี่ยม แต่ก็ยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยเพราะชาวบ้านไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประเมินซึ่งอาจจะเกิดความสงสัยว่าโรงงานมีการทำมาตรฐานอีไอเอก็จริงแต่ชาวบ้านก็ยังได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งคิดว่าทางออกที่เป็นไปได้เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ชาวบ้านได้เข้าไปมีส่วนร่วม (เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจ)ในการประเมินอีไอเอ (ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม) ประกอบกับโรงงานให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของชุมชนโดยชาวบ้านได้รับประโยชน์ เช่น จากการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน มอบทุนการศึกษาให้โรงเรียนและนักเรียน ทุนอาหารกลางวัน บริการตรวจสุขภาพแก่ชุมชน ชาวบ้านมีงานทำ ร่วมรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชน โรงงานได้ต่อสัญญา ชาวบ้านก็จะได้มีความปลอดภัยมากขึ้นและมีงานทำ

เสนอมุมมองและวิเคราะห์โดย:ทิพย์ภาพร วงค์เสนา (ทิพย์)

มุมมองของสุนทร อุษาบริสุทธิ์
ในความคิดของผมแล้ว ผมว่าทางเลือกที่ให้นั้นยิ่งเพิ่มความมืดบอดในความไม่แน่นอน ความไม่แน่ใจให้ดำมืดลงไปอีก เพราะอะำไรผมถึงกล้ากล่าวเช่นนั้น เหตุผลเพราะว่า ปัญหาที่ชาวบ้านกำลังเผจิญนั้นเป็นเรื่องความห่วงกังวลความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อม แต่ผลของการที่ทุกคนมองว่าเป็นการหาทางออกร่วมกันโดยการตั้งเวทีการมีส่วนร่วมนั้น กลับกลายเป็นว่ามีทางออกแค่สองทางคือ จะเลือกสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสุขภาพ หรือการมีอาชีพ ถ้าบริษัทฯ ไม่ได้รับการต่ออายุประทานบัตรก็จะมีชาวบ้านที่ต้องตกงาน ซึ่งผมว่าทางเลือกสองทางนี้ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นการบังคับให้เลือก โดยบังคับให้คนที่มีส่วนได้จากการได้รับจ้างงานเป็นแรงบีบให้คนอื่นๆในหมู่บ้าน(ผู้ที่ได้รับส่วนเสีย)ต้องเลือกต่างหาก ผมว่าทฤษฎีลดความไม่แน่นอน ความไม่แน่ใจ (Uncertainty Reduction Theory)ถ้าเป็นกรณีน่าจะเป็นการบังคับให้ดวงตามืดบอดจากทฤษฏีนี้ต่างหาก ในความคิดของผมแล้ว เวทีของการมีส่วนร่วมครั้งนี้น่าจะคุยกันว่าเราจะมีแนวทางอย่างไรบ้างสำหรับการป้องกันและจัดการกับความห่วงกังวลของชาวบ้านให้ได้ และที่สำคัญผมขอยืมคำพูดของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ท่านประภาส บุญยินดี ที่ได้ให้ข้อคิดกับผมเรื่องการจัดตั้งโรงไฟฟ้าว่า “ เราต้องให้ข้อมูลที่แท้จริงกับชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือด้านเสียเพื่อให้เราได้รับรู้ว่า เขาจะได้อะไร และต้องเสียอะไร เพื่อให้เขาได้ทำใจและเตรียมความพร้อมที่จะต้องอยู่กับสภาวะนั้นให้ได้ ซึ่งสิ่งเดียวที่ชาวบ้านต้องการคือความจริงใจจากหน่วยงานภาครัฐ ”
(สุนทร อุษาบริสุทธิ์ )

อีก 1 คำอธิบายของทฤษฎีนี้ที่ง่ายต่อการเข้าใจคะ โดย รศ.ดร. เสรี วงษ์มณฑา
http://www.ssru.ac.th/linkssru/Subject_New/3033601/ser02/tp11/linkfile/print5.htm

การลดความไม่แน่ใจ (Uncertainty) การสื่อสารนั้นจะช่วยลดความไม่แน่ใจให้กับผู้ส่งข่าวสารโดยจะสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองและลดความเสี่ยงในการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เพราะในขณะที่เราสื่อสารกันจะทำให้รู้ข้อมูลหรือข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องตัดสินใจมากขึ้น ความมั่นใจก็จะเกิดขึ้น เช่น เราจะตัดสินใจแต่งงานกับผู้ชายคนหนึ่งโดยที่ไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาเลย เราก็จะเกิดความไม่มั่นใจว่าจะอยู่ด้วยกันได้หรือไม่ แต่ถ้าเรายิ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาเช่น นิสัยใจคือ พื้นฐานทางบ้าน การศึกษา มากขึ้นเท่าใด เราก็ยิ่งมีความมั่นใจในการตัดสินใจมากขึ้นเท่านั้น

ในการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของการลดความไม่แน่ใจ (Reduction of uncertainty) เช่น การประชาสัมพันธ์ว่าสินค้าที่บริษัทผลิตนั้นดี เพื่อให้เกิดการซื้อหรือทดลองใช้ ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องใส่ข้อมูลดังกล่าวไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสารโดยบอกเล่าจุดขาย อรรถประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับการใช้สินค้าพร้อมทั้งข้อมูลสนับสนุน วัตถุดิบ ส่วนผสม ตลอดจน ข้อมูลเชิงบวก อันเป็นข้อมูลที่ก่อให้เกิดความมั่นใจและเชื่อถือ หรือมองอีกนัยหนึ่ง คือ ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยลดความไม่แน่ใจในตัวสินค้าจนทำให้ความมั่นใจมากกว่าความไม่มั่นใจนั่นเอง


ตัวอย่าง Case ที่เชื่อมโยงว่าทฤษฎีดังกล่าวช่วยให้เข้าใจการสื่อสารในการจัดการความขัดแย้งได้อย่างไร?

เป็นกรณีของการต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ ของคนในพื้นที่ โดยการออกมาประท้วงและสั่งให้ กฟผ. ห้ามเข้ามาดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้นในพื้นที่ ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นโดยหลาย ๆ ปัจจัย แต่สิ่งที่เชื่อมโยงกับทฤษฎีนี้คือ ปัจจัยที่เกิดจากปัญหาการสื่อสาร
Uncertainty = ภาวะความไม่แน่ใจ ในที่นี้มองว่าคือการที่ชาวบ้านรู้สึกวิตกกังวล กลัวในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของตน ซึ่งเนื่องมาจากความไม่รู้หรือชาวบ้านไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้าง เช่น จะสร้างที่ไหน สร้างอย่างไร เชื้อเพลิงที่ใช้จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง เขาจะได้รับอันตรายจากส่วนไหน วิถีชีวิต การประกอบอาชีพของพวกเขาจะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร ผลดี ผลเสียที่เขาจะได้คืออะไร เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญหากชาวบ้านได้รับรู้พวกเขาก็จะคลายความกังวล หรือลดความไม่แน่นอนในสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตที่อาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขา
หากชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลที่เพียงพอ -> ชาวบ้านเข้าใจ -> การประท้วงคงไม่เกิดขึ้น
หากชาวบ้านไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ -> ชาวบ้านไม่เข้าใจ -> เกิดการประท้วงขึ้น

วิธีการแก้ไข โดยใช้การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง คือ การให้ข้อมูล ให้ความรู้แก่คนในพื้นที่นั้น โดยอาจจะเป็นรูปแบบการอบรมให้ความรู้ การพาไปทัศนศึกษาดูงานในพื้นที่อื่นที่เขามีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การจัดสานเสวนา การประชุมชี้แจ้งข้อมูล ข้อเท็จจริงให้ชาวบ้านถาม-ตอบ เป็นต้น การสื่อสารนี้จะช่วยลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเราให้ข้อมูลก่อนที่จะมีการเข้าไปดำเนินการก่อสร้าง ชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจก็ถือเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แต่หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้วการสื่อสารนี้ก็เป็นวิธีการในการจัดการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้

วิเคราะห์โดย : ภิญญา อินนุกูล (จุ๋ย)
######################################################
ขอวิเคราะห์ร่วมด้วย ในอีกแง่มุม โดยนายสุนทร อุษาบริสุทธิ์
แนวการวิเคราะห์และการแก้ไขนั้นถือว่าเป็นการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและความตั้งใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง หลายๆสิ่งเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากมากนักและมีขั้นตอนที่เป็นลำดับ สิ่งหนึ่งที่น่าจะขับเคลื่อนไปกับแนวทางแก้ไขนี้คือความจริงใจและความเข้าใจถึงบทบาทของตนเอง ผมขอเน้นที่บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สิ่งแรกก่อนที่เราจะสื่อสารกับชาวบ้านเพื่อลดความไม่แน่ใจนั้นเราต้องขจัดความเข้าใจผิดของเราออกไปก่อน สิ่งนั้นคือ “ ความเข้าใจผิดที่ว่า ทำไมชาวบ้านจึงไม่เห็นด้วยในเมื่อโครงการที่เราทำนี้เป็นประโยชน์ต่อเขา และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม ทำไมเขาจึงไม่เห็นด้วยและไม่ยอมเสียสละบ้าง ” นี่คือความคิดของบุคลากรส่วนใหญ่ในหน่วยงานนั้นๆ ผมอยากถามเหมือนกับที่เคยโดนชาวบ้านถามเหมือนกันว่า “ คุณรู้ได้งัยว่าพวกเราต้องการอะไร และสิ่งที่คุณบอกเราว่าดี ว่ามีประโยชน์นั้น สำหรับเราแล้ว เราอยากบอกว่า เราไม่ต้องการ ” นี่คือแนวความคิดของผมที่ขออนุญาตเพิ่มจากแนวความคิดและการแก้ไขที่ดีของคุณภิญญา อินนุกูล (จุ๋ย)
(สุนทร อุษาบริสุทธิ์)

ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Conflict)

เป็นความขัดแย้งที่บุคคลรับรู้ถึงความขัดแย้งในจิตใจตนเอง เมื่อเผชิญเป้าหมาย ค่านิยม ความเชื่อ ความต้องการ หลายๆ อย่างที่แตกแต่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ตนชอบทั้งคู่หรือต้องเลือกเพียงอย่างเดียว หรือสิ่งที่จะต้องเลือกมีทั้งข้อดีข้อเสียที่ตนเองชอบและข้อเสียที่ตนเองไม่ชอบ ทำให้ตัดสินใจลำบากว่าจะเลือกหรือไม่เลือก

นอกจากนั้นอาจเป็นความขัดแย้งในบทบาทความขัดแย้งภายในบุคคลยังเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความไม่แน่ใจว่าการกระทำ การตัดสินใจว่าถูกต้อง นอกจากสภาวการณ์ไม่แน่นอน (Uncertainty) ตาม Uncertainty theory (ทฤษฎีความไม่แน่นอน) แล้วในความเห็นควรนำทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability theory) มาร่วมใช้ในการสื่อสารความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (Intrapersonal conflict) ด้วย

ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability thory)

สำหรับ ทฤษฎีความน่าจะเป็น ในความหมายทั่วไป ความน่าจะเป็น (probability) หมายถึง เหตุการณ์หรือความรู้ที่ไม่แน่นอน ซึ่งมีคำใกล้เคียงกับคำว่า เป็นไปได้ น่าจะไม่แน่นอนเสี่ยงหรือโชค
ทฤษฎีความน่าจะเป็นกับสภาพสังคมไทย ตัวอย่างกรณีที่นักวิชาการ (นักวิชาการที่ทำธุรกรรมทางการเมือง) ออกมาแสดงทัศนะทางจอทีวี และต่อมาพรรคการเมืองให้ตำแหน่งรัฐมนตรีตอบแทน หรือกรณี รมต. ต้องคดีติดคุก ภาพเหล่านี้กำลังจะย้อนรอยและพัฒนาการ นักวิชาการต้องอยู่ในกรอบมหาวิทยาลัย กรรมาธิการตรวจสอบนักการเมืองและภาครัฐ ต้องอยู่ในเวทีที่รัฐสภาไม่ใช่ผ่านสื่อ ทำหน้าที่เหมือนศาล แต่มีกลไกผู้ตรวจการรัฐสภาที่เข้มแข็งมากขึ้น ในการทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำของนักการเมือง นักธุรกิจ การเมือง การคอรัปชั่นเชิงนโยบายและภาพความน่าจะเป็นที่ คนเป็นนายกรัฐมนตรีกระทำผิดมีติดคุกติดตะรางให้เห็น

ในความหมายทางคณิตศาสตร์ ความน่าจะเป็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ โดยศึกษาเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น โดยทฤษฎีความน่าจะเป็นได้จำกัดความน่าจะเป็นว่า อยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดย 1 หมายถึง เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นแน่นนอน และ 0 หมายถึง เหตุการณ์นั้นไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น

ความน่าจะเป็นกับเหตุการณ์ทางการเมืองเรา กรณีที่พรรคการเมืองไทยเคยมีเสียงข้างมากเด็ดขาดพรรคเดียว แต่พรรคกลับผกผันที่บุคลากรในพรรคสบสนอลหม่าน ขาดการตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลง ที่ประชาชนเทคะแนนเสียงให้ได้อำนาจมาครองอยู่ในมือฝ่ายเดียว ปัญหาความเป็นพลังที่เป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น บุคลากรกลับขาดการพัฒนา ไม่มีเวลาที่จะวางแผนเกี่ยวกับรูปการณ์ของพรรคและรัฐบาลในอนาคต กลุ่มคนในพรรคมีความขัดแย้งแบ่งสรรตำแหน่งทางการเมืองไม่ลงตัว หลายพวกหลายพ้อง รากฐานความนิยมของประชาชนก็เปลี่ยนแปลงไป อำนาจและพลังเมื่อเผชิญหน้ากับความยุ่งยากทางการเมืองและสังคมที่ทวียิ่งขึ้น การเข้ามาของฝ่ายต่อต้านที่เข้มแข็งจึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

มุมมองกับสิ่ง ความน่าจะเป็น กรณีของพรรค ปชป. เคยเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ถ้าหากหัวหน้าพรรคไม่ใช่คนปัจจุบันแต่มีผู้นำพรรคที่เป็นสุภาพสตรี การเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นแบบสตรีนิยม จะกลายเป็นภัยคุกคามต่อพรรคอื่นๆ หรือไม่ ถ้าผลประกาศการเลือกตั้ง ปชป. นำขาด จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวหรือเป็นแกนนำร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคอื่นหรือไม่? นายกรัฐมนตรีสุภาพสตรีที่มีความน่าจะเป็นใคร? นักการเมืองสตรีคนเก่าในพรรคหรือสุภาพสตรีที่ไต่มาจากนักการเมืองท้องถิ่น หรือสุภาพสตรีที่ทำงานในวงการระหว่างประเทศ

ที่กล่าวมานี้สภาพการณ์ที่มีโอกาสที่จะเกิด เท่ากับ 0 ไม่ใช่ 1 หรือ เท่ากับ 1 ไม่ใช่ 0 สิ่งผกผันของอำนาจและพลัง ที่ประชาชนรากฐานในสังคมย่อมผันแปร เมื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลต่างๆ เข้าถึงอย่างรวดเร็ว นักการเมืองและพรรคการเมืองต้องตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

ความน่าจะเป็นมาจากภาษาละติน คำว่า probare หมายถึง เพื่อพิสูจน์หรือตรวจสอบ

ทฤษฎีความน่าจะเป็น คือ การศึกษาความน่าจะเป็นแบบคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์จะมองความน่าจะเป็นว่าเป็นตัวเลขระหว่างศูนย์กับหนึ่ง ที่กำหนดให้กับ “เหตุการณ์” (ความน่าจะเป็นที่เท่ากับ 0 ก็คือ ไม่มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 แสดงว่า เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน) ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ความน่าจะเป็น P(E) ถูกกำหนดให้กับเหตุการณ์ E ตามสัพพจน์ของความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ E จะเกิดขึ้น เมื่อกำหนดให้อีกเหตุการณ์ F เกิดขึ้น เรียกว่า ความน่าจะเป็นมีเงื่อนไขของ E เมื่อให้ F โดยค่าความน่าจะเป็นคือ (เมื่อ P(F) ไม่เป็นศูนย์) ถ้าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไขของ E เมื่อให้ F มีค่าเช่นเดียวกับความน่าจะเป็น (แบบไม่มีเงื่อนไข) ของ E เราจะกล่าวว่าเหตุการณ์ E และ F เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกัน เชิงสถิติเราจะสังเกตได้ว่าความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์สมมาตร ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นอิสระต่อกัน

แนวคิดหลักของทฤษฎีความน่าจะเป็น คือตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น ทฤษฎีความน่าจะเป็นมีหลายแนวคิด แนวคิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ในสาขาปัญญาประดิษฐ์และเศรษฐศาสตร์ คือทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์

สัจพจน์ของความน่าจะเป็น (the axioms of probability) ถูกเสนอเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936 โดยคอลโมโกรอฟ นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ในทฤษฎีความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์ ความน่าจะเป็นถูกนิยามด้วยฟังก์ชั่น แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกๆ ฟังก์ชั่นจะสามารถแปลความหมายเป็นฟังก์ชั่นของความน่าจะเป็นได้ทั้งหมด สัจพจน์ของความน่าจะเป็นจึงถูกนิยามมาเพื่อกำหนดว่าฟังก์ชั่นใด สามารถที่จะแปลความหมายในเชิงความน่าจะเป็นได้ กล่าวโดยสรุป ฟังก์ชั่นความน่าจะเป็น ก็คือฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณสมบัติตรงกับที่สัจพจน์คอลโมโกรอฟกำหนดไว้ทุกข้อ ในทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ สัจพจน์ของความน่าจะเป็นถูกเสนอโดย บรูโน เด ฟิเนตติ นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยนและ ริชาร์ด คอกซ์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เด ฟิเนตติ เสนอสัจพจน์โดยมีแนวคิดมาจากเกมส์การพนัน ส่วนคอกซ์ เสนอสัจพจน์ของเขา โดยมีแนวคิดมาจากการขยายความสามารถของตรรกศาสตร์แบบอริสโตเติล สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปแล้ว สัจพจน์ของคอลโมโกรอฟ , เด ฟิเนตติ และคอกซ์ จะให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน (ทั้งๆ ที่ทั้งสามท่านมีแนวคิดเริ่มต้นต่างกันโดยสิ้นเชิง)

สัจพจน์ของความน่าจะเป็นกับมุมมองเกี่ยวกับองค์กรอิสระ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน องค์กรอิสระจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ทันกาลทันยุคสมัยมีความเป็นสากล เช่น องค์กรอิสระอย่างกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา แนวโน้มจะเป็นหน่วยงานตรวจสอบกิจกรรมทางด้านรัฐสภา รวมไปถึงการตรวจสอบจริยธรรม คุณธรรมของนักการเมือง ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ว่ามีการกระทำที่ผิด/ขัดจารีตประเพณี ไม่เป็นไปตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดหรือทำเกินงามต่อสาธารณะในเชิงประจักษ์ กติกาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภาเข้าจัดการและอาจรวมถึงการให้สำนักผู้ตรวจการฯ มีหน่วยงานรับผิดชอบ แยกงานสืบสวนสอบสวนในภารกิจ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง หากมีการปฏิบัติทับซ้อนเชิงนโยบายกับผลประโยชน์เฉพาะตนหรือกลุ่มหรือพรรค รวมถึงการมีบุคคลในหน่วยเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ เข้าไปกำกับดูแลการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

มุมมององค์กรอิสระ ความน่าจะเป็น ที่ต้องมีเพิ่มเติม เช่น องค์กรอิสระ ที่ตั้งขึ้นมารองรับการปฏิบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ครบวาระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด เช่น ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อาจมีข้อห้ามเกินสองสมัย และมีองค์กรอิสระที่ตั้งใหม่นี้เป็นที่ให้ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ/หรือให้ผู้เคยดำรงตำแหน่งอดีตประธานองค์กรอิสระที่มีเงื่อนเวลา การอยู่ในตำแหน่งเทียบเคียงกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือ หน่วยงานอิสระตามกฎหมายรัฐธรรมนูญอื่นๆ และ/หรือกำกับดูแล

สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ในมุมการปฏิบัติเพื่อภาพลักษณ์และภาพพจน์ของประเทศ ปรากฏการณ์ที่นักการเมืองต่อยตีกันในรัฐสภาอย่างไตหวันหรือนักการเมืองสอบตกในเขตเลือกตั้ง แต่ได้รับการชูคอหรือนั่งหน้าจ้อในตำแหน่งทางการเมือง เช่น เป็น ส.ส. สอบตกแต่มีตำแหน่งรัฐมนตรีหรือโฆษกรัฐบาล แนวโน้มจะไม่ปรากฏในสังคมไทยเรา เพราะกฎกติกามารยาทและประเพณีวัฒนธรรมของนักการเมืองไทยต้องไม่ยอมรับ เป็นต้น

สัจพจน์ของความน่าจะเป็นอย่างง่าย
กำหนดให้ P(x) เป็นฟังก์ชั่นใดๆ ทางคณิตศาสตร์ โดยมีโดเมนคือ  เราจะกล่าวว่า P(x) เป็นฟังก์ชั่น ของความน่าจะเป็น ก็ต่อเมื่อ P(x) มีคุณสมบัติต่อไปนี้
1. สำหรับ A ที่เป็นสับเซตของ 
2. P( ) = 1
3. P(A + B) = P(A) + P(B) สำหรับ A และ B ที่เป็นสับเซตของ  A,B ไม่มีสมาชิกร่วมที่เหมือนกันเลย

อนึ่งเราจะเรียกแต่ละสมาชิกใน  ว่าเหตุการณ์พื้นฐานและสับเซต เช่น A,B ของ  เหตุการณ์ (ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกสับเซตใดๆ ของ  จะมีคุณสมบัติดังสัจพจน์ข้อที่ 3 แต่ในทางปฏิบัติสับเซตที่เรารู้จักต่างก็มีคุณสมบัติดังนั้นจริง

สัจพจน์ของความน่าจะเป็นอย่างสมบูรณ์ นักคณิตศาสตร์หลายท่านมองทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นสาขาย่อยทางทฤษฎีการวัด (measure theory) นั่นคือ มองความน่าจะเป็น เป็นปริมาณ (แบบนามธรรม) ชนิดหนึ่งที่สามารถวัดได้ ในบริบทของทฤษฎีการวัด ข้อดีของการใช้ทฤษฎีการวัด ในการอธิบายทฤษฎีความน่าจะเป็น คือ เรามีทฤษฎีการวัดทั้งในเซตจำกัดและเซตอนันต์ ดังนั้นนักคณิตศาสตร์จึงสามารถขยายทฤษฎีความน่าจะเป็นให้กว้างขึ้น คลอบคลุมไปถึงกรณีที่โดเมนของฟังก์ชั่นความน่าจะเป็น เป็นเซตอนันต์ได้ทันทีโดยอ้างอิงทฤษฎีบทที่มีอยู่แล้วในทฤษฎีการวัด

ในบริบทของทฤษฎีการวัด ฟังก์ชั่นความน่าจะเป็นอธิบายได้ดังนี้ ค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (event) ขึ้นกับ “เอกภพสัมพัทธ์” (universe) หรือ “ปริภูมิของการสุ่ม” (sample space) ของเหตุการณ์พื้นฐานทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้และนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามสัจพจน์ของความน่าจะเป็น

ภายใต้บริบทของทฤษฎีการวัด ปริภูมิความน่าจะเป็นนิยามโดยมีฟังก์ชั่นการวัด เป็นฟังก์ชั่นการวัดที่ไม่เป็นลบบน ซิกม่าแอลจีบรา (-algebra) หรือซิกม่าฟิลด์ (-field) ของทุกสับเซต
ทฤษฎีความน่าจะเป็น ในประเด็นมุมมองทางการเมืองไทยที่น่าจะเกิดขึ้น กรณีที่นักการเมืองมืออาชีพที่ได้พัฒนาการทางการเมืองที่ขยับไต่มาจากเครือญาติที่สนใจอาชีพความเป็นผู้นำหรือสนใจอาชีพทางการเมือง โดยเล่นการเมืองตั้งแต่ระดับท้องที่-ท้องถิ่น ขยับขึ้นมาเป็นนักการเมืองระดับจังหวัดหรือระดับชาติ คนเหล่า..ส่วนหนึ่งมีการสืบทอดทายาท หรือการสืบทอดเครือญาติของนักการเมืองเอง เพราะเหตุความที่ซึมลึกทางการเมืองลงในสายเลือด เสมือนการถ่ายโอนทายาททางการเมืองเป็นรุ่นๆ ไป นับวันจะมีบทบาทเด่นชัดขึ้น และมีทั้งการพัฒนาหรือมีทั้งการขัดแย้งกันที่ต้องต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง เพื่อคงสถานะภาพความ เป็นนักการเมืองรวมถึงภาพนักธุรกรรมทางการเมือง หรือนักธุรกิจทางการเมืองต้องถูกกลไกความยุติธรรมและการตรวจสอบ จากภาคประชาชนนับวันที่มีความเข้มแข็งขึ้น ภาพความเด่นชัดที่ออกสู่สาธารณะ คือนักการเมืองที่ถูกกลไกทางตุลาการ ซึ่งเป็นเสมือนผู้คุมกฎ+กติกา+มารยาท ให้นักการเมืองต้องมีความสง่างาม มี จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีทางการปฏิบัติตนต่อสาธารณะ เพราะนักการเมืองเมื่อมีการแสดงตนออกไปสู่สาธารณะ จะเป็นภาพลักษณ์ของคนที่เป็นกลุ่มผู้นำของชาติ เราคงได้เห็นอดีตนายกรัฐมนตรี ทุกคนลงจากตำแหน่งแล้วมีความสง่างามในทางสากล มีภาพการทำงานเป็นทีมที่ปลอดสังกัดจากพรรคการเมือง และออกมาทำงานสร้างภาพลักษณ์ให้ชาติ รวมทั้งการเป็นแบบอย่างนักการเมืองมืออาชีพอย่างแท้จริง ภาพเหล่านี้จะเห็นได้เร็ววัน วงการสื่อสารมีส่วนช่วยหรือไม่? สภาความมั่งคงแห่งชาติกับหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีส่วนร่วมผลักดันหรือไม่? นี่ก็เป็นความน่าจะเป็น..ที่ตัวเราคาดหวัง แม้เท่ากับ 0 แต่ก็เปลี่ยนเป็น 1 ได้ แต่คงไม่เกิด –0 หรือ –1

ความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์

1 X 8 + 1 = 9
12 X 8 + 2 = 98
123 X 8 + 3 = 987
1234 X 8 + 4 = 9876
12345 X 8 + 5 = 98765
123456 X 8 + 6 = 987654
1234567 X 8 + 7 = 9876543
12345678 X 8 + 8 = 98765432
123456789 X 8 + 9 = 987654321

1 X 9 + 2 = 11
12 X 9 + 3 = 111
123 X 9 + 4 = 1111
1234 X 9 + 5 = 11111
12345 X 9 + 6 = 111111
123456 X 9 + 7 = 1111111
1234567 X 9 + 8 = 11111111
12345678 X 9 + 9 = 111111111
123456789 X 9 + 10 = 1111111111

9 X 9 + 7 = 88
98 X 9 + 6 = 888
987 X 9 + 5 = 8888
9876 X 9 +4 = 88888
98765 X 9 + 3 = 888888
987654 X 9 + 2 = 8888888
9876543 X 9 + 1 = 88888888
98765432 X 9 + 0 = 888888888

1 X 1 = 1
11 X 11 = 121
111 X 111 = 12321
1111 X 1111 = 1234321
11111 X 11111 = 123454321
111111 X 111111 = 12345654321
1111111 X 1111111 = 1234567654321
11111111 X 11111111 = 123456787654321
111111111 X 111111111 = 12345678987654321

ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Probability theory) ข้างต้น คัดลอกมาจาก www.watwatwitwit.com

สำหรับความเห็นของผู้เขียน

กรณีเกิดความขัดแย้งส่วนตัวเอง ในแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น ๆ จะเลือกใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ทั้งนี้ สิ่งเหล่านั้นอาจจะไม่ถูกต้องตามที่คิดไว้ก็ได้ เช่น ในการขับรถไปยังสถานที่ใดที่หนึ่ง ที่ต้องไปให้ถึงเป้าหมายในเวลาที่เร็วที่สุด ขณะเดียวกัน เป้าหมายของเส้นทาง มี 2 เส้นทางด้วยกัน เส้นทางที่หนึ่ง เป็นเส้นทางที่สั้นกว่า แต่ถนนขรุขระ อีกเส้นทางหนึ่งเป็นเส้นทางที่มีระยะทางยาวกว่า แต่ถนนราบเรียบ ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งในตัวเองขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องเลือกเส้นทางเดียวเท่านั้น

ดั้งนั้น จึงต้องใช้ทฤษฎีความเป็นไปได้มาใช้ในการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของการจราจรในแต่ละเส้นทางนั้น พร้อมทั้งอ่านใจของผู้ขับขี่รายอื่น ๆ ด้วย ว่าเขาจะมีความคิดอย่างไร สำหรับกรณีนี้ ผมคาดว่า ผู้ขับขี่รายอื่น ๆ จะขับบนเส้นทางที่สองที่ราบเรียบกว่า ทำให้การจราจรบนถนนเส้นนั้นคับคั่ง ทำให้รถเคลื่อนตัวไปได้ช้า กินเวลาที่ยาวนาน ดังนั้น ผมจึงเลือกไปเส้นทางแรกที่ขรุขระ ซึ่งคาดว่าจะไปยังจุดหมายได้รวดเร็วกว่า (แต่ทั้งนี้ คงมิได้หมายความว่าจะถูกต้องตามที่เราคาดคิดไว้)

วิเคราะห์โดย นายอวยชัย ศิริวจนา

ขอวิเคราะห์ร่วมด้วย ในอีกแง่มุม โดยนายสุนทร อุษาบริสุทธิ์
เมื่อพูดถึงความน่าจะเป็นในการตัดสินใจว่าจะต้องทางใดทางหนึ่งนั้น และคุณอวยชัย ศิริวจนาได้กล่างถึงหนทางสองหนทางที่เส้นทางหนึ่งสั้นกว่าแต่มีสภาพขรุขระ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งทางยาวกว่ามากแต่สภาพราบเรียบ ทำให้ผมคิดถึงตอนหนึ่งในเรื่องสามก๊กขึ้นมา กล่าวคือ เมื่อโจโฉแพ้สงครามต่อจิวยี่ โจโฉต้องรีบหนีการไล่ล้าจากแม่ทัพของจิวยี่และเล่าปี่กลับเมืองตนเอง แต่ระหว่างหนีโจโฉเจอเส้นทางสองเส้นทางที่ต้องเลือก เส้นทางหนึ่ีงเป็นเส้นทางลัด แต่หนทางขรุขระและเสี่ยงต่อการถูำกจับกุมและซุ่มโจมตีได้ง่าย แต่อีกเส้นทางหนึ่งเป็นเส้นทางที่ยาวกว่าเส้นทางแรกเกือบสองเท่าแต่เป็นที่โล่ง หนทางราบเรียบ เดินทางสบายและสามารถมองเห็นศัตรูได้ง่าย โจโฉสั่งให้ทหารใช้เส้นทางลัดแม้จะเป็นเส้นทางที่ขรุขระและเสี่ยงต่อการถูำกจับกุมและซุ่มโจมตีได้ง่าย แล้วมีนายทหารคนหนึ่งถามโจโฉว่า ท่านไม่กลัวขงเบ้งส่งคนมารอบโจมตีหรือ เพราะถ้าขงเบ้งส่งทหารเพียงน้อยนิดมาซุ่มโจมตี เราทุกคนจะตายกันหมด แต่โจโฉกลับบอกว่า แม้หนทางจะเต็มไปด้วยอันตราย แม้ตามหลักวิชัยยุทธ์แล้ว จะห้าม แต่เรามั่นใจว่าขงเบ้งจะคิดว่าเราต้องไม่เลือกไปเส้นทางลัดแน่ และขงเบ้งต้องรอบวางกำลังรอเราที่เส้นทางยาวแน่ เรารู้ทันขงเบ้ง ฉะนั้นเราต้องเลือกเส้นทางลัด พร้อมกับหัวเราะเยาะขงเบ้งว่า มีปัญญาน้อยกว่าตัวเอง …..แต่สุดท้ายโจโฉก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด ต้องสูญเสียไพร่พลเกือบหมด และเสียศักดิ์ศรีที่ต้องอ้อนวอนขอชีวิตต่อกวนอู สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะขงเบ้งก็รู้เหมือนกันว่า โจโฉเป็นคนอ่านวิชัยยุทธ์มากและมักจะคิดมากทำให้ต้องเลือกเดินเส้นทางลัดแน่นอน
(สุนทร อุษาบริสุทธิ์)


การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
โดย จารุพรรณ กุลดิลก www.thaissf.org, http://twitter.com/jitwiwat แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระแสการศึกษาทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเข้าใจใหม่ เพราะคนจำนวนหนึ่งตระหนักแล้วว่า การศึกษาที่เน้นแต่เรื่องนอกตัวหรือเรื่องทางกายภาพ โดยขาดความเข้าใจในเรื่องจิตใจและจิตวิญญาณ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้
ทุกวันนี้คนยิ่งเรียน ยิ่งก้าวร้าวมากขึ้น มีอัตตามากขึ้น ยึดติดในทฤษฎี เน้นการเปรียบเทียบ มีตัวชี้วัดที่ตายตัว เอาความเก่งเป็นตัวตั้งและตัดสินถูกผิด บนพื้นฐานของการแยกส่วนเสี้ยว ซึ่งไม่ใช่ความจริง
ความเป็นจริงในธรรมชาติไม่มีการแยกส่วนเสี้ยว แต่มีความเป็นทั้งหมด มีเหตุมีปัจจัยเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
การอธิบายความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่ง จะอธิบายด้วยความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นต่อสิ่งอื่น ไม่ได้กำหนดอัตลักษณ์ตายตัว ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity) และทฤษฎีความไม่แน่นอน (Uncertainty) ในควอนตัมฟิสิกส์ ใช้การอ้างอิงความสัมพันธ์ในการอธิบายปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ซึ่งในวงการวิทยาศาสตร์ถือว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพและควอนตัม เป็นทฤษฎีที่เข้าใกล้ความจริงของธรรมชาติมากที่สุด
วงการธุรกิจเริ่มเข้าใจและยอมรับเรื่องความไม่แน่นอน และความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ จึงมีการบริหารจัดการองค์กรรูปแบบใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ตัวอย่างที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในกลุ่มจิตวิวัฒน์บ่อยครั้ง ได้แก่ ผู้นำกับวิทยาศาสตร์ใหม่ ของ มาร์กาเรต เจ วีทเลย์ (Leadership and the New Science; Margaret J. Wheatley) ที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงานแบบไว้วางใจกัน และไม่มีตัวชี้วัดในองค์กร เน้นการสื่อสารองค์กรแบบไดอะล็อค หรือสุนทรียสนทนา ที่ประกอบด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ที่ไปพ้นความเข้าใจในระดับภาษา ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพ หรือ องค์กรไร้ระเบียบสู่องค์กรมีระเบียบ ของ ดี ฮ็อค (Chaordic Organization; Dee Hock) ผู้ก่อกำเนิดบัตรวีซ่า ซึ่งกล่าวว่า ความไร้ระเบียบจะเข้าสู่ความมีระเบียบโดยไม่ต้องจัดการอะไร
เรื่องราวชีวิตของ ดี ฮ็อค น่าสนใจมาก เขาก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทวีซ่า โดยการลาออกในขณะที่กำลังประสบความสำเร็จสูงสุด เนื่องจากเขาเข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง เข้าใจจังหวะชีวิต รู้เวลาที่สมควรจะก้าวลงจากอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง
นอกจากนี้ ยังมีคนแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ที่ทำงานโดยไม่ใช้ตัวชี้วัดกับคนทำงาน แต่ใช้ความสัมพันธ์แบบไว้วางใจ ซึ่งเมื่อบริษัทของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เริ่มที่จะพัฒนาคุณค่าเรื่องความไว้วางใจ ความไว้วางใจจึงขยายออกไปสู่วงกว้างระดับโลกด้วย
ความไว้วางใจนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับจิตวิญญาณ (Spiritual Transformation) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความพร้อม พร้อมที่จะไว้วางใจในมนุษย์ ไว้วางใจในธรรมชาติ โดยผ่านการพิสูจน์และเรียนรู้ด้วยตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในการเข้าใจคุณค่าด้านในของมนุษย์ โดยเฉพาะในตนเอง รู้จักตัวตน และวิธีละวางตัวตน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องประสานกับธรรมชาติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นธรรมชาติของความไม่รู้มากกว่าความรู้
เมื่อยอมรับและตระหนักได้ว่าในธรรมชาติจริงมีสิ่งที่ไม่รู้เกือบจะทั้งหมด และทุกอย่างพร้อมจะปรับเปลี่ยน
แปรเปลี่ยน จะทำให้คนมีอัตตาลดลง ไม่ยึดติดในทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งตายตัว เกิดการเรียนรู้มากขึ้น มีสติรับรู้รับฟังกันและกันมากขึ้น เห็นใจกันมากขึ้น ให้อภัยกันมากขึ้น เพราะต่างก็อยู่บนโลกของความไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน และปัญหาในอนาคตมีแนวโน้มใหญ่โต คาดการณ์ไม่ได้มากขึ้น มองเห็นว่าสังคมมนุษย์นั้นเล็กมาก จะเกิดความอ่อนน้อมถ่อมตน และเห็นคนทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมทุกข์อย่างแท้จริง จะกลับมาเอาใจใส่คนรอบข้างมากขึ้น มีการสื่อสารระหว่างกัน เข้าถึงใจจริงกันมากขึ้น จะเกิดความสุข เป็นความสุขที่เกิดจากความรู้สึกมั่นคงในระดับจิตวิญญาณ บนโลกที่ไม่มีความมั่นคงในระดับกายภาพและระดับจิตใจ
ซึ่งที่ผ่านมามนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาในการเรียนรู้ หรือรับรู้เรื่องดังกล่าวในแวดวงการศึกษากระแสหลักเลย การศึกษากระแสหลักมักเน้นแต่เรื่องความแน่นอน แม่นยำ ชัดเจน และการผลิตซ้ำของงาน ผ่านตัวชี้วัด ซึ่งเป็นเรื่องห่างไกลกับความสัมพันธ์เท่าที่จำเป็นของมนุษย์แต่ละคน สวนทางกับความจริงโดยสิ้นเชิง
จึงเป็นที่มาของ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงสู่ความเข้าใจใหม่ ในระดับจิตใจ และจิตวิญญาณ การหยั่งรู้ถึงความจริงของความเปลี่ยนแปลง อันมีเหตุมีปัจจัยเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว เกิดความไว้วางใจ เกิดความรัก และพร้อมที่จะรับฟังอย่างลึกซึ้ง
พาตนเองและมนุษยชาติทั้งหมด โลก และสิ่งแวดล้อม ออกจากความทุกข์ที่มนุษย์ร่วมกันก่อไว้ ไปสู่อิสรภาพจากความคิดและความเชื่อเดิมๆ ที่ทำให้คนเจ็บป่วย โลกเจ็บป่วย เปลี่ยนแปลงไปสู่การหยั่งรู้ในระดับความรู้สึกตัว ที่เกิดความรู้ความเข้าใจที่มีความสดใหม่ตลอดเวลา ไม่ได้มาจากการท่องจำทฤษฎี สามารถแก้ไขปัญหาตรงหน้าได้อย่างทันท่วงทีร่วมกัน
การเปลี่ยนแปลงความเข้าใจใหม่นี้ เกิดขึ้นได้จากความพร้อมด้วยเหตุด้วยปัจจัยของแต่ละคน อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะมีความแตกต่างไปจากการเปลี่ยนไป (Change) ที่ไม่ได้บ่งบอกคุณลักษณะของการเปลี่ยนแปลง ว่าเปลี่ยนไปสู่ความเข้าใจใหม่ที่เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติอย่างไร
การศึกษานี้ไม่สามารถเรียนรู้จากทฤษฎี หรือการบอกให้เชื่อ แต่ต้องผ่านการพิสูจน์และใคร่ครวญด้วยตนเอง ซึ่งการเรียนรู้และจริตในการเข้าถึงความจริงของแต่ละคนจะแตกต่างกัน เรียนบ้าง เล่นบ้าง หลับบ้าง ทดลองบ้าง การเรียนจึงประกอบด้วยวิธีที่หลากหลาย ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้เอื้อให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ซึ่งโดยพื้นฐานและหัวใจของการเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องประกอบด้วยการเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ มีพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้อย่างไม่ตัดสินถูกผิด เชื่อใจ และไว้วางใจ
กระบวนการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ เมื่อแต่ละคนได้ค้นพบความจริงที่ยิ่งใหญ่กว่าทฤษฎีที่ตนรับรู้มา จึงจะยอมละวางความคิด ความเชื่อที่ตายตัว จนเกิดปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลง คือกลายเป็นผู้รับฟังมากกว่าผู้ตัดสิน เป็นผู้เมตตากรุณามากกว่าเป็นคนเก่ง ผู้เรียนจะกลายเป็นผู้ที่มีความสุขสงบลึกๆ ในใจ แม้กระทั่งตกอยู่ในสภาวะที่กำลังเผชิญปัญหา เนื่องจากสามารถก้าวข้ามตัวตนหรือกรอบที่ครอบงำหรือความเชื่อเดิม ที่ไม่เชื่อมโยงกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันขณะ จากนั้นจะเกิดความกล้าหาญขึ้น มั่นคงยิ่งขึ้น เข้มแข็งยิ่งขึ้น อีกทั้งความเจ็บป่วยต่างๆ ลดลง จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีขนาดไหนหากมีประชากรที่มีคุณภาพในการรับฟังผู้อื่นอย่างมากมายในประเทศ เป็นประชากรที่มีความสุขจากการเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต จะไม่เกิดการเสียเวลาโต้แย้งทางความคิดใน

เรื่องการใช้ชีวิตให้มากความ เพราะการเข้าถึงความจริงไม่สามารถคิดๆ เอา แต่ต้องผ่านการพิสูจน์ด้วยตนเอง และทุกคนมีเวลาเป็นของตนเอง ผ่านความเชื่อมั่น ไว้วางใจของคนรอบข้างและสังคมโดยรวม
ผู้เขียนมีความหวังอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้นำในการศึกษาเรื่องนี้ได้ โดยไม่ยึดติดกับกระแสตัวชี้วัดของโลกวัตถุ ที่เน้นการผลิตซ้ำ กลับมาตั้งสติดีๆ มีความเข้มแข็งที่จะเปลี่ยนแปลงการศึกษาของมนุษย์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลกใบเล็กๆ นี้ร่วมกัน

ที่มา : วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11445 มติชนรายวัน หน้า 9

Case ตัวอย่าง ในระหว่างเที่ยวบินที่ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้างาน (Air Purser) อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งมีเพื่อนรุ่นใกล้กันเป็นหัวหน้าของข้าพเจ้า คือตำแหน่ง IM (Inflight Manager) ในการเดินทางไปประเทศหนึ่ง ก่อนถึงจุดหมายปลายทาง ได้มีการพูดคุยกันค่อนข้างตึงเครียดของลูกเรือ ซึ่งข้าพเจ้าได้ทราบภายหลังว่า ลูกเรือกำลังไม่พอใจ IM เนื่องจากลูกเรือ 2-3 คนโดนตำหนิเพราะทำงานผิดพลาด และในเที่ยวบินนั้น IM ก็ทำงานผิดพลาดหนึ่ง เรื่อง ทำให้ลูกเรือวิจารณ์เรื่องความผิดพลาดของ IM ด้วย ลูกเรือที่โดนตำหนิพยายามพูดให้ผู้ร่วมงานคนอื่นฟังเพื่อหาแนวร่วม และลูกเรือคนอื่นที่เคยได้ยินชื่อของ IM ท่านนี้ก็เออ ออไปด้วย โดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เมื่อจบเที่ยวบิน IM ได้ประกาศออกไมค์ขอโทษ ที่ตนเองทำงานผิดพลาดและได้พยายามช่วยเหลือลูกเรือทุกคนในการยกกระเป๋าใหญ่ออกจากสายพานที่สนามบินปลายทาง แต่ก็ไม่วายที่จะโดนนินทาลับหลังว่า ทำผิดก็เลยพยายามแก้ตัว ลูกเรือกลุ่มหนึ่งได้มานินทาให้ข้าพเจ้าฟัง ข้าพเจ้าจึงได้ให้ข้อคิดแก่พวกเขาว่า “พวกเราบางคนที่โดนตำหนิก็เพราะทำงานผิดพลาด ทำไมเราไม่มองความบกพร่องของตัวเราเองแล้วแก้ไข ทำไมพยายามมองแต่ความผิดพลาดของคนอื่นแล้วตำหนิติเตียน มีใครในที่นี้ไม่เคยทำผิดพลาดบ้าง แล้วสิ่งที่พวกเรา2-3คนทำผิด เราได้ยอมรับผิด และได้ขอโทษพี่ และ IM แล้วหรือยัง (ลูกเรือ2-3คนได้เปลี่ยนตำแหน่งในการทำงานกันเองหลังจากได้รับการ assign position มาแล้วถ้าหากจะเปลี่ยนต้องรายงานให้ IM และข้าพเจ้าทราบ) เพราะพวกเราบางคนทำผิดกฏกันจริงๆ เขาถึงได้ตำหนิ และ IM เขารู้ถึงความผิดพลาดของตนเอง จึงได้ประกาศขอโทษแล้ว และได้ช่วยพวกเรายกกระเป๋า ข้าพเจ้าจึงได้เตือนว่าเราควรหยุดวิจารณ์ได้แล้วเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงานและเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งมากไปกว่านี้ และควรไปขอโทษ IM ด้วย ทำให้ลูกเรือหยุดวิจารณ์ และแยกย้ายกันไป สำหรับผู้ที่ทำผิดจึงก็ได้ไปขอโทษ IM
ในการสนทนาได้อ้างถึงเหตุการ์ณความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกิดจาก IM ผู้นี้ในเที่ยวบินอื่นว่าเป็นคนเจ้าระเบียบ ไม่มีความยืดหยุ่น และหากลูกเรือทำผิด และพยายามจะอธิบาย IM ผู้นี้จะไม่ฟังเหตุผล ดังนั้นเรื่องต่างๆ ถูกเล่าต่อกันมาปากต่อปากทำให้ภาพพจน์ของ IM ท่านนี้เป็นไปในทางลบโดยที่เขาไม่มีโอกาสได้แก้ตัวเลย
วิเคราะห์จากcase ในความคิดของข้าพเจ้าเป็นความไม่ยุติธรรมสำหรับ IM เพราะลูกเรือที่โดนตำหนิทั้งๆที่รู้ว่าตนเองผิดนอกจากจะไม่รับผิดแล้วยังพยายามใช้การสื่อสารไปในทางที่ผิดคือพยายามหาพวกโดยพูดถึงความบกพร่องของคู่กรณีแต่ไม่พูดถึงความบกพร่องของตนเอง ผู้รับฟังก็ไม่คิดที่จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความขัดแย้งแต่กลับฟังความข้างเดียว รู้สึกเพียงการมีส่วนร่วมในความคิดในแง่ลบไปด้วย
สถานะความขัดแย้งของ case นี้ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ต่างคน

ต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันดังทฤษฎีที่กล่าวมา เพราะผู้ร่วมรับฟังก็ไม่มีข้อมูลที่แท้จริงในการนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยแต่จะรู้สึกเพียงความสนุกที่คนทะเลาะกัน โดยลูกเรือกลุ่มนี้เลือกที่จะเชื่อคนอื่นและสร้างจินตนาภาพจากภาพลักษณ์ของ IM โดยขาดการวินิจฉัย หากข้าพเจ้าไม่ได้ให้ข้อคิดแก่พวกเขา เขาก็จะพูดถึง IM ท่านนี้ในทางลบ ต่อไปอีก ดังนั้นการสื่อสารที่ดีจึงนำมาแก้ไขความขัดแย้งได้
จากทฤษฎีความไม่แน่นอน ความไม่มั่นใจ (Uncertainty Theory)
ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ของความขัดแย้ง มักเกิดจากความไม่พยายามจะใช้การสื่อสารให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน หากเราเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมของผู้อื่นที่เรามีความสัมพันธ์ด้วยน่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งน้อยมาก ดังนั้น การพยายามสื่อสารกับผู้อื่นจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะลดความไม่มั่นใจในความสัมพันธ์นั้น จริงๆแล้วคนส่วนใหญ่สามารถแยกแยะปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้ หากให้ความร่วมมือหรือประนีประนอมซึ่งกันและกัน พยามยามวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความขัดแย้งที่แท้จริง การได้รับข้อมูลมาผิดๆมักทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในความสัมพันธ์นั้นๆ เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อคนเราเกิดความไม่มั่นใจในความสัมพันธ์ก็จะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะสื่อสาร หรือหากจะต้องมีการสื่อสารก็จะมีความก้าวร้าวรวมอยู่ด้วย ซึ่งผู้ร่วมสนทนาในความขัดแย้งจะจินตนาภาพพฤติกรรมของผู้อื่นไปในทางบวกและลบ ซึ่งยากต่อการคาดเดาว่าบทสนทนาจะนำไปในทิศทางใด ซึ่งอาจทำให้การแก้ไขปัญหายากลำบาก

โดย ขนิษฐา รัตนเวทิน
*
ขอร่วมแสดงความเห็นด้วยกับการวิเคราะห์นี้อย่างยิ่งยวด เพราะมองเห็นภาพที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนครับ ผมคิดว่าการกล่าวขอโทษเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญที่สามารถเพิ่มความแน่นอนหรือความไว้วางใจในการร่วมแก้ความขัดแย้งร่วมกันครับ แต่เราจะเริ่มกล่าวขอโทษอย่างไร ถ้าต้องการให้คนที่เราจะสื่อสารด้วยเข้าใจและรับรู้ว่าเรารู้สึกผิดจริงและพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้แหละครับที่สำคัญอย่างมาก เริ่มด้วยจุดมุ่งหมายในใจดีใหมครับ จุดมุ่งหมายที่จะเข้าถึงเป้าหมายที่ร่วมคิดร่วมสร้างกันขึ้นมาของกลุ่มเราเองหรือของตัวเราเองที่ไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายของกลุ่ม นั้นสำคัญสุดครับ และที่สำคัญต่อมาคือการแสดงให้ทุกคนได้ทราบว่าเราตั้งใจที่จะทำสิ่งต่อๆไปให้ดีที่สุดครับ
โดยสุนทร อุษาบริสุทธิ์
*
ผมขอเสนอcaseการขาดความเชื่อถือในการสื่อสาร
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผมได้ไปเสนอสินค้ากับลูกค้าในราคาที่ต่างกับราคาที่เปิดบิลไป ลูกค้าจึงโทรต่อว่ามาทางบริษัทว่าราคาสูงกว่าตอนที่ผมไปเสนอ ทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อถือ,ไม่พอใจและสับสนอย่างมาก เมื่อผมทราบจึงได้โทรไปขอโทษลูกค้าและชี้แจงให้ทราบว่า ราคาสินค้านั้นเพิ่งปรับขึ้นมาในวันที่จะส่งไปให้ลูกค้า แต่ผมยอมรับผิดโดยการคงราคาที่ผมเสนอไปให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าพอใจแต่กำไรก็ลดลง ซึ่งผมคิดว่าเราก็ยังไม่เสียความน่าเชื่อถือจากลูกค้าไป

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License