Perception and Attribution Theory

ทฤษฎีีการรับรู้ (Perception Theory) (นายวชิระ ขินหนองจอก-ทฤษฎีการรับรู้)

การรับรู้เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อม ของตน และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้น การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยการรับรู้ และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วยประสาทสัมผัส และปัจจัยทางจิต คือความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติเป็นต้น การรับรู้จะประกอบด้วยกระบวนการสามด้าน คือการรับสัมผัสการแปลความหมายและอารมณ์
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้

การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
จากการวิจัยมีการค้นพบว่าการรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3%
การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้น อยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน เพราะการรับรู้ เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึง การรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์ อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอน
พฤติกรรมต่างๆนำไปสู่การกำหนดทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ

การจัดระบบการรับรู้
มนุษย์เมื่อพบสิ่งเร้าไม่ได้รับรู้ตามที่สิ่งเร้าปรากฏแต่จะนำมาจัดระบบตามหลักดังนี้
1. หลักแห่งความคล้ายคลึง (Principle of similarity) สิ่งเร้าใดที่มีความคล้ายกันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
2. หลักแห่งความใกล้ชิด (Principle of proximity ) สิ่งเร้าที่มีความใกล้กันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
3.หลักแห่งความสมบูรณ์ (Principle of closure) เป็นการรับรู้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น
การเรียนรู้ของคนเราจากไม่รู้ ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้

"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ สิ่งเร้า มาเร้า ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัสกับอวัยวะรับสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้น โดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่นๆ เรียกว่า การรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้วก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอด แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง(response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"

ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. ประสบการณ์ (experiences)ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้นกระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ" ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง

The philosophy of perception concerns how mental processes and symbols depend on the world internal and external to the perceiver. Our perception of the external world begins with the senses, which lead us to generate empirical (ความชำนาญ) concepts representing the world around us, within a mental framework relating new concepts to preexisting ones (http://en.wikipedia.org/wiki/Philosophy_of_perception)

Perception is the process by which people select, organize, interpret, retrieve, and respond to information (John Wiley & Sons, Inc., Organizational Behavior, 8eSchermerhorn, Hunt, and Osborn)

Attribution theory (ทฤษฎีการอ้างเหตุผล)
The conceptual framework within social psychology dealing with lay, or common sense explanations of behaviour.
Through life we gradually construct explanations/theories of why people behave in certain ways (Dr Elizabeth Sheppard,C81IND Individual in Society)
Attribution theory aids in perceptual interpretation by focusing on how people attempt to:

  • Understand the causes of a certain event.
  • Assess responsibility for the outcomes of the event.
  • Evaluate the personal qualities of the people involved in the event.

(John Wiley & Sons, Inc., Organizational Behavior, 8eSchermerhorn, Hunt, and Osborn)

ตัวอย่างกรณีศึกษา:

ก่อนที่เราจะดูตัวอย่างความขัดแย้ง และการแก้ไขความขัดแย้ง อันเนื่องมาจากการสื่อสารนั้น เราจะขอเอ่ยถึงเรื่องทฤษฎีกันก่อนเพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจ ก่อนที่จะนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์กรณีศึกษาต่อไป โดยทฤษฎีที่เราสนใจก็คือ “ทฤษฎีการรับรู้/กำหนดรู้” (Perception Theory) และ “ทฤษฎีการอ้างสาเหตุ/ยกสาเหตุ” (Attribution Theory) เราจะขอขยายความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี และเนื้อหาของทฤษฎีดังต่อไปนี้
อันคำว่า “การรับรู้/กำหนดรู้” หรือภาษาอังกฤษว่า “Perception ” นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษลาตินว่า “Perceptio” หรือ “Percipio” แปลว่า การได้มา การเก็บรวบรวม อาการซึ่งแสดงถึงการครอบครอง การเข้าใจผ่านจิตใจ หรือประสาทสัมผัส (receiving, collecting, action of taking possession, apprehension with the mind or senses) ซึ่งก็หมายความว่า ก่อนที่เราจะเข้าใจหรือแปลความหมายต่อเรื่องใดๆ แล้วไซร้ เราจะต้องได้รับสิ่งกระตุ้น (ไม่ว่าจะจากภายนอก หรือภายในจิตใจตนเอง) ดังนั้น เพื่อแสดงให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจะขอยกตัวอย่างสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งแน่นอนว่า การแปลความ ตีความต่อสิ่งกระตุ้นของแต่ละคนนั้น อาจจะมีความเหมือน หรือแตกต่างกันไปได้หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น

• ตัวอย่างของการรับรู้ผ่านการมองเห็น เรามีตัวอย่างมากมายให้ดูว่า การรับรู้ผ่านทางการมองเห็นนั้น มีการบิดเบือนได้ ดังตัวอย่างรูปที่แสดงต่อไปนี้
คุณเห็นหญิงสาว หรือว่าหญิงชรากันหล่ะ?
18914d1240514260-did-you-see-jesus-optical-illusion-illusion-1-.jpg

คุณเห็นภาพวิวทิวทัศน์ธรรมดาแน่หรือ?
face-black-and-white-optical-illusion.jpg

• ต่อมา การรับรู้ผ่านการได้ยิน ซึ่งก็เป็นอีกสึ่งหนึ่งที่ทำให้เรามักจะเกิดการเข้าใจผิด หรือสื่อสารกันผิดพลาด และเกิดความคับข้องหมองใจกับผู้ที่เราจะสื่อสารด้วยได้เช่นกัน โดยเฉพาะการสื่อสารระหว่างชาย กับหญิง โดยจะขอนำตัวอย่างที่ได้มาจากเว็บไซต์มาแสดงให้ดูพอได้ความรู้ และความบันเทิงไปในที
o :^o^: 9 ประโยคกำกวมของผู้หญิง ที่พึงระวัง
1. ดี,โอเค๊ คำนี้ผู้หญิงใช้ปิดการโต้เถียงตอนที่เธอมั่นใจว่าเป็นฝ่ายถูก และคุณต้องหุบปากซะ
2. ห้านาทีนะ ถ้าหล่อนกำลังแต่งตัว นี่จะหมายถึงชั่วโมงครึ่ง แต่ห้านาทีก็คือห้านาทีจริงๆ ถ้าเธอเพิ่งยอมให้คุณดูบอลต่ออีกห้านาทีแล้วค่อยไปช่วยเธอทำงานบ้าน
3. ไม่มีไร นี่คือความสงบก่อนพายุจะเข้า มันแปลว่า"มีอะไร"แน่ ๆ ขอให้เตรียมตัวได้เลย การโต้เถียงที่เริ่มด้วย "ไม่มีไร" มักจะไปจบลงที่ "ดี,โอเค"
4. ก็เอาดิ,เอาเลย,ทำเลย นี่เป็นคำท้า ไม่ใช่คำอนุญาต อย่าทะลึ่งทำเป็นอันขาด!
5. ทำเสียง ชิ,ฮึ,จึ๊ ฯลฯ ออกมาดัง ๆ มันมีความหมายแน่นอน แต่เสียงแปลกๆกลุ่มนี้ มักทำผู้ชายเข้าใจผิด เพราะเสียงพวกนี้หมายความว่าเธอกำลังคิดว่าคุณทำตัวซื่อบื้อเหลือทน และไม่เข้าใจว่าจะมาเสียเวลายืนเถียงกับคุณเรื่อง"ไม่มีไร"แบบนี้ทำไม (กลับไปดู "ไม่มีไร" ที่ข้อ 3)
6. ไม่เป็นไร นี่คือสถานะอันตรายสุด ๆ ที่ผู้หญิงจะมีต่อผู้ชายแล้ว "ไม่เป็นไร"แปลว่าเธอต้องคิดดูก่อนอย่างนานและอย่างหนักว่าคุณต้องชดใช้อะไร อย่างไร และเมื่อไหร่ในความผิดที่คุณก่อไว้
7. ขอบคุณ ถ้าผู้หญิงขอบคุณ อย่ามีคำถาม อย่ามัวทำเฉย ตอบรับคำเขาไปดี ๆ (แต่ขอเพิ่มหน่อยว่าถ้าผู้หญิงพูดว่า "ขอบคุณมาก" อันนี้ประชดเต็มดอก เธอไม่ได้ขอบคุณอะไรเลย อย่าได้ทะลึ่งตอบรับ ไม่งั้นคุณจะเจอกับ "เออ เอาเหอะ"
8. เออ เอาเหอะ เป็นวิธีที่เจ้าหล่อนจะพูดกับคุณว่า ไอ้เห….ย!
9. อย่าห่วงเลย,อือ เข้าใจละ อีกหนึ่งสถานะอันตราย หมายความว่านี่คือบางอย่างที่เธอบอกให้คุณทำมาหลายครั้งละ แต่คราวนี้เธอจะทำเอง ซึ่งเดี๋ยวคุณก็จะถามว่า "เป็นไรอะ" แล้วคุณก็จะเจอกับข้อ 3.
• การรับรู้ที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการดมกลิ่น ตัวอย่างนี้ ถ้าจะยกให้ใกล้ตัว คงต้องยกเคสกรณีของผลไม้เนื้อทองมีหนาม นั่นก็คือ ทุเรียนนั่นเอง หลายครั้ง หากว่าคุณได้ซื้อทุเรียนแล้วเก็บเอาไว้ในรถ ถ้าหากว่าเพื่อนของคุณขึ้นรถมาด้วย อาจจะเข้าใจผิดได้ว่า กลิ่นที่โชยเข้าจมูกนั้น เป็นกลิ่นผายลม หรือเปล่า นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ แต่ใกล้ตัวของการรับรู้เรื่องกลิ่นที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
• การรับรู้ที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการรับรสชาด ตัวอย่างนี้ เห็นได้บ่อยบนโต๊ะอาหาร โดยเฉพาะเกี่ยวกับของหวาน หรือผลไม้ ถ้าหากว่าเราทานผลไม้ หรือขนมที่หวานมากๆ เข้าไปแล้ว และไปอาหารที่หวานรองลงมา เราจะรู้สึกว่าอาหารนั้นจืดไปทันที ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้ว อาหารนั้นมีรสชาดหวาน (เช่น ทานทองหยอด แล้วไปทานแตงโมต่อ จะรู้สึกว่าแตงโมจืด ไม่มีรสชาด)
• การรับรู้ที่ผิดพลาดผ่านทางสัมผัส ส่วนนี้มีความใกล้เคียงกันกับการรับรู้เรื่องอวจนภาษามาก เพราะมีความแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรมค่อนข้างชัดเจน เช่น การลูบหัว ถ้าเป็นวัฒนธรรมไทย คงจะเป็นการดูก้าวร้าว หรือล่วงเกิน แม้แต่กับเพื่อนกันเอง เวลาที่จะปลอบใจเพื่อน ก็คงจะหายากที่จะเห็นเพื่อนลูบหัวเพื่อน เพื่อปลอบใจ แตกต่างกับวัฒนธรรมของต่างประเทศ ขอยกตัวอย่างประเทศอเมริกา เวลาเพื่อนเศร้า หรือทุกข์ เราจะเห็นว่า ในบางกรณีแล้ว เค้าจะลูบหัว เพื่อส่งสัญญาณว่าเป็นห่วง หรือจะบอกเพื่อนว่า “ไม่เป็นไรนะ” ได้
• ขอเพิ่มเติมเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาษากาย ซึ่งมักจะเกิดความผิดพลาดได้มาก โดยเฉพาะการสื่อสารกับคนต่างวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น ชนพื้นเมืองในประเทศนิวซีแลนด์ เค้าจะทักทายกันด้วยการเอาจมูกมาชนกัน ถ้าเกิดว่าคุณเพิ่งที่จะประเทศนี้เป็นครั้งแรก และมีคนเอาจมูกมาชนจมูกคุณ คุณคงคิดว่า “คนนี้มันบ้า หรือ มันมาลวนลามกันอย่างนี้เลยหรือ” นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการเข้าใจผิด จากการรับรู้เรื่องอวจนภาษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม

ตัวอย่างกรณีความขัดแย้งในการเลือกรับสาร กระบวนการรับรู้เกิดจากการรับรู้ผ่านสัมผัสทั้ง5 เกิดขั้นตอนการเลือก(selected) การประมวล(organized) และการตีความ(interpreted) โดยทุกคนไม่สามารถที่จะรับสารได้ทั้งหมด และจะเลือกรับในสิ่งที่ตนเองสนใจ ตัวอย่างความขัดแย้งกรณีนี้ เกิดขึ้นเมื่อคนสองคนเลือกรับสารในส่วนที่ต่างกันตามความสนใจของตนเอง จึงทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน เช่นเหตุการณ์สมหญิงและสมชายนั่งดูโฆษณารถยนต์ยี่ห้อหนึ่งด้วยกัน สมหญิงมีความสนใจสถานที่ถ่ายทำในโฆษณา เพราะอยากไปเที่ยวช่วงวันหยุดยาวนี้ จึงตั้งใจดูภาพบรรยากาศในโฆษณา ส่วนสมชายนั้นสนใจเรื่องสมรรถภาพรถยนต์ เพราะจะใช้เป็นข้อมูลตัดสินใจในการซื้อ จึงตั้งใจฟังข้อมูลเครื่องยนต์ เมื่อสมหญิงและสมชายดูโฆษณาจบ
สมหญิง : คุณค่ะ เราไปเที่ยวกัน ไปเหมือนที่ในโฆษณานะ สวยดี
สมชาย : ที่ไหนก็ไม่รู้ ต่างประเทศหรือเปล่า จะไปได้ยังไง
สมหญิง : คุณไม่เห็นเหรอ ภูเก็ตชัดๆ คุณไม่อยากพาฉันไปใช่ไหม
ทั้งคู่ได้รับสารเดียวกันในเวลาเดียวกัน แต่มีความสนใจต่างจึงเลือกรับสารในส่วนที่ต่างกัน (พิรัลณญา อินปา)

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License